วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

โรคมะเร็ง...บนหน้า

1.มะเร็งในช่องปาก

มะเร็งในช่องปากคืออะไร

มะเร็งในช่องปากคือมะเร็งที่เกิดขึ้นที่ริมฝีปาก  หรือภายในช่องปาก หรือในช่องคอ หรือต่อมน้ำลายหรือต่อมทอนซิล โดยจะพบในชายมากกว่าหญิง และพบมากในคนอายู 40 ปีขึ้นไป ซึ่งการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยเสี่ยงหลัก ถ้าตรวจพบเร็ว มะเร็งในช่องปากสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด การฉายรังสี หรือ เคมีบำบัด มะเร็งในช่องปากอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้  สาเหตุส่วนหนึ่งของการตรวจไม่พบคือการไม่รู้ว่ามีอาการเริ่มแรก ดังนั้นการตรวจพบมะเร็งในช่องปากในระยะแรกจึงเป็นปัจจัยสำคัญของการรักษา




อาการของมะเร็งในช่องปากมีอะไรบ้าง

  • อาการเจ็บที่ริมฝีปาก เหงือก หรือภายในช่องปาก ซึ่งมีเลือดออกได้ง่าย และไม่หายขาด
  • ตุ่มหรือก้อนบริเวณแก้มซึ่งสามารถรู้สึกได้ด้วยลิ้น
  • การสูญเสียความรู้สึก หรืออาการชาในบริเวณใดก็ตามของช่องปาก
  • ฝ้าขาวหรือแดงที่เหงือก ลิ้น หรือภายในช่องปาก
  • ปัญหาในการเคี้ยวหรือกลืนอาหาร
  • อาการเจ็บที่ปากที่หาสาเหตุไม่ได้ หรือความรู้สึกว่ามีบางอย่างติดคอโดยหาสาเหตุไม่ได้
  • การบวมของขากรรไกรทำให้การสบฟันผิดปกติ
  • เสียงเปลี่ยนไป

เราจะป้องกันมะเร็งในช่องปากได้อย่างไร

ถ้าเราไม่ได้สูบบุหรี่ หรือเคี้ยวใบยาสูบ ก็ไม่ควรจะเริ่ม เนื่องจากยาสูบเป็นสาเหตุหลักในการเกิดมะเร็งในช่องปากถึง 80 - 90 %
การสูบบุหรี่ — ความเกี่ยวข้องกันระหว่างการสูบบุหรี่กับมะเร็งปอดและโรคหัวใจเป็นเรื่องที่ รับรู้กันอย่างแพร่หลาย การสูบบุหรี่ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของคุณด้วย ทำให้การต่อต้านการติดเชื้อ และการฟื้นตัวหลังอุบัติเหตุและการผ่าตัดยากขึ้น ในกลุ่มเด็กวัยรุ่น การสูบบุหรี่ทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก และมีปัญหาในพัฒนาการด้านต่าง ๆ ผู้สูบบุหรี่ส่วนมากจะไม่สามารถรับรู้กลิ่นหรือรสชาติได้ดีเท่าเดิม และยังทำให้เกิดกลิ่นปากและคราบบนฟัน สุขภาพของช่องปากของคุณอยู่ในจุดเสี่ยงทุกครั้งที่จุดบุหรี่ การสูบบุหรี่ ไพพ์ หรือซิการ์ เพิ่มโอกาสในการเกิดมะเร็งที่กล่องเสียง ปาก คอ และหลอดอาหาร เนื่องจากหลาย ๆ คนไม่ได้ระวังถึงอาการเริ่มแรก มะเร็งในช่องปากจึงมักจะกระจายก่อนที่จะถูกตรวจพบ
การเคี้ยวใบยาสูบ
— การเคี้ยวใบยาสูบสามารถทำให้เกิดมะเร็งในช่องปากมากกว่าถึง 50 เท่า การงดสูบบุหรี่ ซิการ์ หรือ ไพพ์ และการงดเคี้ยวใบยาสูบจึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำ ผู้ที่หยุดจะลดโอกาสการเกิดมะเร็งในช่องปากได้อย่างมาก แม้ว่าจะผ่านการใช้ยาสูบมาเป็นเวลาหลายปีก็ตาม การดื่มแอลกอฮอล์จำนวนมากหรือเป็นประจำ




มะเร็งในช่องปากรักษาได้อย่างไร

หลังจากที่ตรวจพบแล้ว ทีมผู้เชี่ยวชาญ  จะทำแผนการรักษาเพื่อให้เหมาะกับแต่ละผู้ป่วย ส่วนใหญ่มักจะต้องมีการผ่าตัด ตามด้วยการฉายรังสี และเคมีบำบัด เป็นการดีที่จะพบทันตแพทย์ที่มีความคุ้นเคยกับการเปลี่ยนแปลงที่การรักษา ต่าง ๆ เหล่านี้สามารถทำให้เกิดในช่องปาก

ทุกครั้งที่คุณรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีแป้งและน้ำตาล แบคทีเรียจะสร้างกรดที่ทำลายเคลือบฟันเป็นเวลา 20 นาทีหรือนานมากนั้น เพื่อลดความเสียหายของเคลือบฟัน ควรจะลดจำนวนครั้งในการรับประทานอาหารระหว่างมื้อ และเมื่อต้องรับประทานอาหารว่าง ควรเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น เนยแข็ง ผักสด โยเกิร์ต หรือผลไม้ 

 

ผลข้างเคียงในช่องปากของการฉายรังสีมีอะไรบ้าง

เมื่อมีการฉายรังสีที่ส่วนศรีษะและลำคอ หลาย ๆ คนอาจจะมีอาการระคายเคืองในช่องปาก ปากแห้ง มีความลำบากในการกลืนอาหาร หรือการรับรู้รสชาติที่เปลี่ยนไป การฉายรังสียังเพิ่มโอกาสของฟันผุอีกด้วย ดังนั้นการดูแลฟัน เหงือก ช่องปากและคอจึงเป็นสิ่งสำคัญในระหว่างการฉายรังสี ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการรักษามะเร็งและทันตแพทย์เกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ที่คุณพบระหว่างและหลังจากการฉายรังสี นอกจากนี้ควรปรึกษาทันตแพทย์ของคุณก่อนที่รับการรักษามะเร็งที่บริเวณศรีษะ และลำคอ สิ่งที่คุณทำทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการรักษา จะช่วยป้องกันผลข้างเคียงได้ 




เราจะรักษาสุขภาพปากและฟันที่ดีอย่างไรในระหว่างการรักษา

ควรแปรงฟันด้วยแปรงสีฟันที่มีขนแปรงอ่อนนุ่มหลังอาหาร และใช้ไหมขัดฟันทุกวัน หลีกเลี่ยงเครื่องเทศและอาหารที่ย่อยยาก เช่น ผักดิบ แครกเกอร์ และถั่ว ควรหลีกเลี่ยงยาสูบและแอลกอฮอล์ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ควรเคี้ยวหมากฝรั่งหรือลูกอมที่ปราศจากน้ำตาลเพื่อให้ปากชุ่มชื่น
ก่อนที่จะรับการฉายรังสี ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ของคุณทราบเพื่อทำการตรวจอย่างละเอียด และควรให้ทันตแพทย์ของคุณคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านการฉายรังสีก่อนที่จะเริ่ม รับการรักษาด้วย 




2.มะเร็งโพรงหลังจมูก

มะเร็งโพรงหลังจมูก เป็นมะเร็งที่พบมากอีกโรคหนึ่งโดยเฉพาะคนเชื้อชาติจีน มะเร็งโพรงหลังจมูกส่วนใหญ่จะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง สาเหตุส่งเสริมมาจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า เอ็บสไตน์บาร์ ไวรัส การรับประทานอาหารที่มีสารไนโตรซามีน ซึ่งมีอยู่ในอาหารเนื้อสัตว์หมักดอง เช่น ไส้กรอก แหนม ปลาร้า เนื้อสัตว์ย่างต่าง ๆ ปลาเค็ม เป็นต้น นอกจากนี้ยังเกิดจากการอักเสบเรื้อรังของโพรงหลังจมูก และสุขภาพของช่องปากไม่ดีอีกด้วย




อาการแสดงของมะเร็งโพรงหลังจมูก

   1. อาการทางจมูก มีอาการระคายเคืองหลังโพรงจมูก มีน้ำมูกปน  เลือด มีเลือดออกทางจมูกบ่อย ๆ แน่นหรือคัดจมูก หรือเสียงเปลี่ยนไป
2. อาการทางหู มักจะเกี่ยวข้องกับการอุดตันของท่อปรับความดันของหูชั้นกลาง อันเนื่องมาจากการลุกลามของมะเร็ง เป็นผลให้ความกดอากาศในหูชั้นกลางลดลง ทำให้มีอาการหูอื้อ ซึ่งอาการจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
3. อาการทางระบบประสาท ทำให้มีอาการชาหรือ เจ็บเสียวที่แก้มข้างเดียวกับมะเร็ง นอกจาก นี้ยังมีอาการกล้ามเนื้อตาเป็นอัมพาต ทำให้มองเห็นภาพซ้อน และมีอาการตาเหล่ การรับกลิ่นเสียไป
4. ก้อนบริเวณคอ เมื่อมะเร็งลุกลามไปถึงต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ ผู้ป่วยอาจมาด้วยก้อนเพียงก้อนเดียว หลายก้อนติดกันหรือห่างกัน แต่ที่พบบ่อยมักจะเป็นเพียงก้อนเดียว มีลักษณะแข็งไม่เจ็บและเคลื่อนไปมาได้
5. อาการอื่น ๆ ที่พบบ่อยคือ น้ำหนักลด เบื่ออาหาร มีไข้ต่ำ ๆ และอาจจะมีอาการอ้าปากไม่ขึ้น สำลักน้ำขึ้นจมูก เป็นต้น





การวินิจฉัยมะเร็งโพรงหลังจมูก          

 - การตรวจร่างกายและตรวจโพรงหลังจมูก
 - การตัดชิ้นเนื้อ จากเนื้องอกในโพรงจมูกไปตรวจทางพยาธิวิทยา และการตรวจเลือด


การรักษา          

          1. การฉายรังสีรักษา เป็นที่นิยมและยอมรับว่าเป็นการรักษาที่ เหมาะสมที่สุดในปัจจุบัน
          2. เคมีบำบัด
          3. การรักษาแบบผสมผสาน เช่น การฉายแสง ร่วมกับ เคมีบำบัด







 ที่มา :


http://medinfo2.psu.ac.th/cancer/db/news_ca.php?newsID=15&typeID=18&form=2

www.colgate.co.th/app/CP/TH/TH/OC/Information/Articles/Oral-and-Dental-Health-Basics/Medical-Conditions/Cancer-Oral-Health/article/Oral-Cancer-Signs-and-Symptoms.cvsp

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น