วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

โรคมะเร็ง..หลากหลายชนิด


1.มะเร็งเต้านม

     มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบบ่อยในหญิงไทยเป็นที่สองรองจากมะเร็งปากมดลูกมักเกิดในหญิงอายุ 40 ปีขึ้นไปและพบมากในหญิงที่ไม่มีบุตรหรือมีบุตรน้อย และในผู้ที่มีประวัติญาติพี่น้องเคยเป็นมะเร็งเต้านมหญิงอายุน้อยหรือชายก็ อาจเ ป็นมะเร็งเต้านมได้ แต่พบได้น้อย

สาเหตุการเกิดโรค

ยังไม่ทราบแน่นอน แต่ในทางระบาดวิทยาอาหารไขมันสูง มีส่วน ทำให้เกิดโรคได้ ตำแหน่งเกิดของมะเร็งเต้านมมักเป็นที่ส่วนบนด้านนอกของ เต้านมมากกว่า ส่วนอื่น

ลักษณะอาการของโรค
 
1.เริ่มจากการคลำก้อนไม่ได้จนถึงมีก้อนเล็กๆ ขึ้นที่เต้านม ส่วนมากจะไม่มีอาการเจ็บปวด
2.ก้อนจะโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ท ำให้เต้านมมีลักษณะผิดไป อาจทำให้เต้านมใหญ่ขึ้น หรือบางชนิดทำให้เต้านมแข็ง หดตัวเล็กหรือแบนลงได้ ก้อนมะเร็งอาจจะรั้งให้หัวนมบุ๋ม เข้าไปจากระดับเดิม หรือทำให้ผิวหนังบริเวณเต้านมมีลักษณะ หยาบ และขรุขระ บางรายเมื่อบีบบริเวณหัวนมจะมีน้ำเหลืองหรือเลือดไหลซึมออกมา มะเร็งจะลุกลาม แพร่กระจายจากตำแหน่งที่เกิดได้อย่างรวดเร็วไปตามหลอดเลือด และน้ำเหลืองสู่อวัยวะอื่นๆ
3.บริเวณที่พบการแพร่กระจายได้เร็วและบ่อยที่สุดได้แก่ ต่อมน้ำเหลือง ที่รักแร้
4.ในรายที่เป็นมากแล้วเนื้อมะเร็งบางส่วนจะเน่าตาย ทำให้เกิดเป็นแผลขยายกว้างออกไป และมีกลิ่นเหม็นจัด
 

การตรวจวินิจฉัยและรักษา
 
1.การตรวจพบและรักษามะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะเริ่มแรก จะมีโอกาสหายขาดได้
2.การตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละครั้งเป็นประจำ หลังหมดประจำเดือน 7 วัน และ การตรวจโดยเอ็กซเรย์เต้านม ช่วยให้พบความผิดปกติ หรือก้อนมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก
3.การรักษานั้นอาจทำโดยการผ่าตัดการบำบัดทางรังสี และการใช้ยาสังเคราะห์บางประเภท ทั้งนี้อาจจะให้การรักษาโดยวิธีการเดียวหรือร่วมกันไปก็ได้ ขึ้นอยู่กับผลการ ตรวจพิเศษ ของชิ้นเนื้อมะเร็งและต่อมน้ำเหลืองที่ผ่าตัดออกมา
 
ข้อควรปฏิบัติ
 
1.ควรตรวจเต้านมด้วยตนเองเดือนละครั้งเป็นประจำ หลังหมดประจำเดือน 7 วัน หากพบก้อนหรือสิ่งผิดปกติใด ๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว
2.ให้ความร่วมมือในการรักษา อย่าหลงเชื่อและเสียเวลาไปกับการรักษาโรคมะเร็ง ด้วย วิธีการ ทางไสยศาสตร์และยากลางบ้าน เพราะมะเร็งนั้นจะโตขึ้นเรื่อยๆ โอกาสที่จะหายขาดจะลดลง ทุกขณะ
3.พึงระลึกเสมอว่ามะเร็งของเต้านมหรืออวัยวะใดก็ตาม ถ้าได้รับการรักษาในระยะเริ่มต้น เร็วเท่าไร ความหวังที่โรคจะหายขาดก็ยิ่งมีมากขึ้นเพียงนั้น 

2.มะเร็งลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก

สาเหตุ

คือ อาหาร เช่น การรับประทานอาหารประเภท เนื้อสัตว์มาก ไขมันสูง หรือมีเส้นใยน้อย เป็นประจำและโรคบางอย่างของลำไส้ใหญ่ ซึ่งเป็นโรคทางกรรมพันธุ์ ติ่งเนื้องอกใน ลำไส้บางชนิดอาจกลาย เป็นมะเร็งได้
  

อาการ

1. มีการเปลี่ยนแปลงนิสัยในการถ่ายอุจจาระ ทั้ง จำนวนครั้ง และลักษณะของอุจจาระที่ออกมา
2. มีเลือดเก่า ๆ และมูกออกมาทางทวารหนัก
3. ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรื้อรัง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ
4. น้ำหนักลด อ่อนเพลีย ซีด หรือโลหิตจาง โดย หาสาเหตุไม่ได้
5. คลำก้อนได้ที่บริเวณท้องและมีการอุดตันของ ลำไส้ใหญ่

การรักษา

การผ่าตัด มะเร็งลำไส้ใหญ่ใช้วีธีการตัดออก และ ต่อกันได้ มะเร็งทวารหนักที่อยู่ใกล้ทวารหนัก อาจพิจารณาปิดทวารหนักเดิม และทำทวารเทียม ให้บริเวณหน้าท้องผู้ป่วย ผู้ป่วยจะถ่ายอุจจาระ ทางหน้าท้อง และสามารถใช้ชีวิตได้ปกติกับ ทวารใหม่นี้ 2. การบำบัดด้วยรังสี ใช้ในมะเร็งทวารหนัก 3.เคมีบำบัดใช้บรรเทาอาการหรือร่วมกับการผ่าตัด การรักษาอาจใช้วิธีเดียวหรือร่วมกันหลายวิธีก็ได้

การตรวจวินิจฉัย

การตรวจลำไส้ใหญ่ด้วย X-ray โดยการ สวนล้างแบเรียม เข้าทางทวารหนักแล้ว ถ่าย X-ray 2. การตรวจด้วยกล้องส่องตรวจลำไส้ใหญ่ สามารถดูรอยโรคโดยตรงและตัดชิ้นเนื้อไปวิเคราะห์ได้ด้วย 3. การตรวจเลือดหาสาร CEA ซึ่งใช้ในการติดตามผลการรักษา

3.มะเร็งปากมดลูก (Cervix Cancer)


เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรี และในประเทศไทย เป็นสาเหตุของการตายเป็นอันดับหนึ่ง ของมะเร็งทั้งหมดในตรี

สาเหตุ

สาเหตุของมะเร็งทุกชนิดยังไม่ทราบแน่นอน แต่พบว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่มีความสัมพันธ์ถึงมะเร็งปากมดลูก เช่น การมีเพศสัมพันธ์ ตั้งแต่ อายุยังน้อย, มีบุตรมาก, มีประวัติ เป็นกามโรค เป็นต้น

 

พบในช่วงอายุ

พบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในอายุระหว่าง 41-50 ปี, รองลงมาในช่วงอายุ 31-40 ปี

อาการ

ในระยะเริ่มแรก ผู้ป่ายอาจไม่มีอาการอะไร ต่อมาอาจมีตกขาวผิดปกติคล้ายปากมดลูกอักเสบ เมื่อโรคลุกลามขึ้นอาจมีอาการเลือดออกผิดปกติ เช่น มีเลือดออกกะปริดกะปรอย, ตกเลือด หรือมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์

การป้องกัน

ป้องกันได้โดยการตรวจมะเร็งปากมดลูกกับสูตินรีแพทย์ เป็นประจำ ปีละครั้ง โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีอาการผิดปกติอะไร เพื่อการตรวจหามะเร็ง ปากมดลูกในระยะก่อนลุกลาม ซึ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้โดยง่าย

วิธีรักษา ในระยะลุกลาม

ผู้ป่วยมักไม่มีอาการอะไร การรักษาสามารถทำได้ง่ายโดยการจี้ด้วยความเย็น, ตัดปากมดลูกเป็นรูปกรวย ซึ่งปัจจุบัน สามารถรักษาได้ แบบผู้ป่วยนอก ไม่ต้องดมยาสลบหรือนอนพักในโรงพยาบาล
 
การผ่าตัด ถ้ามะเร็งอยู่เฉพาะปากมดลูกอาจจะตัดแค่บริเวณปากมดลูก แต่ถ้ามะเร็งแพร่กระจายมากแพทย์
อาจจะตัดมดลูก ท่อรังไข่ รังไข่ รวมทั้งต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง
การให้รังสีรักษาทำได้ 2 วิธี
  • โดยการให้รังสีรักษาจากเครื่องแพทย์จะให้รังสีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง 5วัน/สัปดาห์เป็นเวลา 5-6 สัปดาห์
  • โดยการฝังแร่อาบรังสีบริเวณปากมดลูกฝังแต่ละครั้งนาน 1-3 วันต้องอยู่โรงพยาบาลใช้เวลารักษา  1-2 สัปดาห์
การให้เคมีบำบัด โดยการให้เคมีเข้าในเลือดเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง
การสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อให้ภูมิคุ้มกันทำลายมะเร็ง ยาที่ใช้บ่อยคือ interferon



ผลข้างเคียงของการรักษา

การผ่าตัด หลังการผ่าตัดมักจะมีอาการปวด เลือดออก
ถ้าต้องตัดมดลูกผู้ป่วยอาจจะปัสสาวะและอุจาระลำบากต้องคาสายสวนปัสสาวะไว้ระยะหนึ่ง
ผู้ป่วยควรพักระยะหนึ่งเพื่อให้แผลหาย จะมีเพศสัมพันธ์หลังผ่า 4-8 สัปดาห์
ผู้ป่วยที่ตัดมดลูกยังคงมีอารมณ์ทางเพศปกติแต่อาจมีปัญหาทางจิตใจกังวลว่าไม่สามารถมีบุตร
ได้คู่ครองควรที่จะช่วยกันปลอบใจและให้กำลังใจ

การให้รังสีรักษา ระหว่างการให้รังสีรักษาผู้ป่วยจะเพลีย ไม่มีแรง เบื่ออาหาร ผมร่วง ผิวบริเวณที่สัมผัส
รังสีจะมีสีน้ำตาล ห้ามทาโลชั่น อาการต่างๆจะหายไปหลังหยุดการรักษา
การร่วมเพศอาจจะลำบากเนื่องจากช่องคลอดจะแคบและแห้งต้องใช้ครีมหล่อลื่นช่วย
นอกจากนี้อาจมีปัญหาเรื่องปัสสาวะและถ่ายเหลว

 การให้เคมีบำบัด จะฆ่าเซลล์ที่แบ่งตัวเร็ว
ซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ เกร็ดเลือดต่ำทำให้เหนื่อยง่าย ติดเชื้อง่าย และเลือดออกง่าย ผมร่วง
เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน เป็นหมัน

การสร้างภูมิคุ้มกัน ผลข้างเคียงมีไม่มาก มีอาการคล้ายไข้หวัด ปวดตามตัว คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง


การป้องกัน

สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัดแต่พบว่ามีหลายปัจจัยเป็นความเสี่ยง
  • การมีเพศสัมพันธ์ก่อนอายุ 18 ปีและการมีสำส่อนทางเพศ เชื่อว่าเกิดจากเชื้อไวรัส human papillomaviruses
  • การสูบบุหรี่
  • การได้รับยาคุมกำเนิด diethylstilbestrol ระหว่างตั้งครรภ์
  • ภูมิคุ้มกันบกพร่อง 
  • การได้รับวิตามิน A ป้องกันมะเร็งได้แต่ต้องศึกษาเพิ่มเติม


 

4.มะเร็งปอด

ในประเทศไทยมะเร็งปอดเป็นโรคที่พบมากและเป็นสาเหตุการตาย ในอันดับ ต้นทั้ง ในเพศชายและหญิงและอุบัติการณ์โรคกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในเพศ หญิง ผู้ป่วยมะเร็งปอด ส่วนใหญ่(80-90%)เกิดจากการสูบบุหรี่จึงสามารถป้องกันได้ ธรรมชาติทาง ชีววิทยาของมะเร็งปอด ทำให้เราพบผู้ป่วย เมื่อเริ่มมีอาการ ในขณะที่โรคอยู่ในระยะลุกลาม และแพร่กระจาย เป็นผลให้ผู้ป่วยประมาณ 90% เสียชีวิตจากโรคมะเร็งภายใน เวลา 1-2 ปี มะเร็งปอดพบมากในคนอายุ 50-75 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (80%) จะเป็นผู้ที่สูบบุหรี่ และ ประมาณ 5% จะเป็นผู้ที่ต้องสูดดมควันบุหรี่จากผู้อื่ นผู้ที่สูดดมควันบุหรี่จากผู้อื่นจะมี ความเสี่ยง ต่อ การเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น 26% จำนวนมวนของบุหรี่ที่สูบต่อวันและ ชนิดของบุหรี่ที่สูบจะสัมพันธ์กับอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดผู้ที่สูบ บุหรี่10-13% จะเกิด มะเร็งปอดภายในเวลา 30-40 ปี อย่างไรก็ตามถ้าเลิกสูบบุหรี่ก็สามารถลดอัตราการเสี่ยง ต่อการเกิดมะเร็งปอดลงเหลือเท่าผู้ไม่สูบบุหรี่ได้ภายในเวลา 10-15 ปี ผู้ที่สูบบุหรี่ และ เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจะยิ่งเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งปอด
 
สารก่อมะเร็งที่อาจเป็นสามเหตุของ โรคในผู้ป่วย10-15%ซึ่งไม่สูบบุหรี่ ได้แก่ แอสเบสตอส (ตัวอย่าง เช่น ผู้ที่ทำงานในโรงงานผลิตผ้าเบรครถยนต์ เป็นต้น) โดยเฉพาะถ้าผู้นั้นสูบบุหรี่ด้วย จะยิ่งเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งสูงถึง 50 เท่า สารก่อมะเร็งอื่นได้แก่ แร่เรดอน มลภาวะใน อากาศจากอุตสาหกรรมโลหะหนัก ควันมลภาวะในสิ่งแวดล้อม การฉายรังสีเพื่อรักษา
มะเร็งชนิดอื่นก็อาจเพิ่มปัจจัย เสี่ยงต่อมะเร็งปอดได้โดยเฉพาะผู้สูบบุหรี่ร่วมด้วย นอกจากนี้ ปัจจัยทางพันธุกรรมก็อาจมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย มะเร็งปอดเป็นโรคที่ตรวจค้นหาในระยะ เริ่มแรกได้ยาก การนำเอาผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง (ผู้ชายสูบบุหรี่อายุเกิน 40 ปี) มาตรวจ เสมหะและเอ็กซเรย์ปอดเพื่อพยายามจะลดอัตราการตายจากโรคมะเร็ง พบว่า สามารถพบ ผู้ป่วยมะเร็งในระยะเริ่มแรกมากขึ้น แต่ไม่สามารถลดอัตราตายลงได้ การล้มเหลวจากการนี้ เชื่อว่า เนื่องจากมะเร็งปอดแม้จะมีขนาดเล็กก็พบการแพร่กระจายได้สูงมะเร็งปอด มักจะ เริ่มมีอาการเมื่อโรคลุกลามมากแล้ว อาการที่พบได้แก่ อาการไอ หายใจลำบาก ไอเป็นเลือด ปอดอักเสบบ่อย และเจ็บลึกที่หน้าอก หายใจลำบากจากน้ำท่วมปอด เป็นต้น นอกจากนี้ อาจมีอาการเนื่องจากมะเร็๋งลุกลามหรือแพร่กระจาย เช่น เสียงแหบ อาการทางสมอง ปวดกระดูก เป็นต้น

 การวินิจฉัยโรค

ถ่ายภาพเอ็กซเรย์ปอด 2.ตรวจเสมหะที่ไอออกมา เพื่อหาเซลล์มะเร็ง 3.ส่องกล้องตรวจดูภายในหลอดลม 4.ใช้เข็มแทงผ่านผนังทรวงอก หรือขลิบชิ้นเนื้อจากหลอดลมเพื่อการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา

การรักษา

เมื่อพบว่าเป็นโรคมะเร็งปอดแน่นอนแล้วแพทย์จะเป็นผู้ตัดสินใจว่า จะรักษาด้วยวิธีใด ซึ่งจะเหมาะสมที่สุดโดยพิจารณาถึงอายุภาระความแข็งแรงของร่างกาย ระยะของโรค ชนิด ของชิ้นเนื้อ และการยอมรับของผู้ป่วย ซึ่งการรักษาจะประกอบด้วย 1.การผ่าตัด 2.การฉายแสง 3.เคมีบำบัด 4.การรักษาแบบประคับประคอง
 

5.มะเร็งตับ

มะเร็งตับ เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 ในเพศชายและอันดับ 2 ในเพศหญิง และเป็นมะเร็งที่มีการดำเนินโรคเร็วมาก มักจะเสียชีวิตใน 3 -6 เดือน

สาเหตุ

1. การเกิดของโรค แยกตามประเภทได้ 2 ชนิด คือ
1.1 ชนิดที่เกิดกับตับโดยตรง (มะเร็งปฐมภูมิ) ในประเทศไทยพบมากมี 2 ชนิดคือ
1.1.1 มะเร็งชนิดเซลล์ตับ เป็นมะเร็งที่พบได้ทั่วทุกภาค
1.1.2 มะเร็งชนิดเซลล์ท่อน้ำดี เป็นมะเร็งที่พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
1.2 ชนิดที่ลุกลามมาจากมะเร็งของอวัยวะอื่น (มะเร็งทุติยภูมิ) เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ และ ทวารหนักที่กระจายไปยังตับ
2.ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการ เกิดโรค เช่น โรคไวรัสตับอักเสบชนิดบี พยาธิใบไม้ในตับ สารเคมีต่างๆ ยารักษาโรคบางชนิด ยาฆ่าแมลง สารพิษที่เกิดจากเชื้อรา สารเคมีที่เกิด จากอาหารหมักดอง สุรา ฯลฯ ภาวะทุพโภชนาการ ภาวะทางระบบอิมมูน คุณสมบัติ ทางพันธุกรรม และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เป็นสาเหตุช่วยในการเกิดโรค
 

อาการ  

1.เบื่ออาหาร แน่นท้อง ท้องผูก 2. อ่อนเพลีย น้ำหนักลด และมีไข้ต่ำๆ 3. ปวดหรือเสียดชายโครงด้านขวา อาจคลำก้อนได้ 4. ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องโตและบวมบริเวณขาทั้ง 2 ข้าง

การตรวจวินิจฉัย

การตรวจและรักษามะเร็งตับในระยะแรกเริ่มมักได้ผลดี แต่มะเร็งตับระยะแรกเริ่มมักไม่มีอาการ ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงควรปรึกษาแพทย์
1. การตรวจโดยเจาะเลือดหาระดับของสารแอลฟาฟีโตโปรตีน ซึ่งเป็นสารที่มะเร็งตับ ชนิดเซลล์ตับผลิตออกมา
2. การตรวจดูก้อนในตับโดยใช้อุลตราซาวด์ คอมพิวเตอร์เอ็กซเรย์ คลื่นแม่เหล็ก MRI หรือฉีดสีเข้าเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงตับ

การรักษา

1. การผ่าตัด เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่หวังผลในการหายขาดได้ แต่ใช้ได้ ในผู้ป่วยที่ก้อนยังไม่โตมาก และการทำงานของตับยังดีอยู่
2. การฉีดยาเคมีและสารอุดตันเข้าเส้นเลือดแดงที่ไปหล่อเลี้ยง ก้อนมะเร็งทำให้ก้อนยุบลง (Chemoembolization)
3. การฉีดยา เช่น แอลกอฮอล์ เข้าก้อนมะเร็ง โดยผ่านทาง ผิวหนังใช้ในก้อนมะเร็งเล็กๆ ซึ่งผู้ป่วยไม่สามารถผ่าตัดได้
4. การใช้ยาเคมี ใช้เพียงเพื่อบรรเทาไม่สามารถหายขาดได้
5. การฉายแสง ใช้เพื่อบรรเทาอาการของมะเร็ง
6. การใช้วิธีการผสมผสาน

การป้องกัน

1. ไม่รับประทานอาหารที่มีเชื้อรา ระมัดระวังอาหารที่ตากแห้ง รวมทั้งอาหารที่เตรียมแล้ว เก็บค้างคืน เพราะอาจมีเชื้อราปะปนอยู่
2. ไม่รับประทานอาหารซ้ำๆหรืออาหารที่ใส่ยากันบูด
3. ไม่รับประทานอาหารสุกๆดิบๆ เช่น ปลาดิบ ก้อยปลา เพราะอาจจะทำให้เป็น โรคพยาธิใบไม้ตับหรืออาหารที่หมัก เช่น ปลาร้า ปลาเจ่า แหนม ฯลฯ เพราะมีสาร ไนโตรซามีน ซึ่งทำให้เป็นโรคมะเร็งตับได้
4. ควรรับประทานอาหารที่สะอาด และปรุงสุกใหม่ๆ
5. ถ้ามีอาการผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์


 ที่มา :


http://www.nci.go.th/knowledge/nom.htm
http://www.nci.go.th/knowledge/lansai.htm
http://www.bknowledge.org/index.php/object/page/access/health/files/20.html
http://www.nci.go.th/knowledge/pod.htm

http://www.nci.go.th/knowledge/tub.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น