วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

โรคมะเร็ง...เลือด

1.มะเร็งเม็ดเลือดขาว

เป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งของระบบเลือดที่เกิดจากากร ที่เซลล์เม็ดเลือดขาวใน ไขกระดูกเติบโตผิดปกติ ทำให้มีการสร้างเม็ดเลือดขาวออกมามากในกระแสเลือด ทำให้การทำงานของระบบเม็ดเลือดเสียไป อาจเป็นแบบเฉียบพลัน (Acute leukemia) หรือเป็นแบบช้า ๆ ค่อย ๆ เป็น (Chronic leukemia) โดยทั่วไป มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน จะมีอาการรุนแรงกว่าชนิดที่เกิดช้า ๆ หรือเรื้อรัง 

 

สาเหตุ

ปัจจุบันยังไม่ ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ปัจจัยทางกรรมพันธุ์และการติดเชื้อไวรัส การได้รับสารเคมีบางอย่าง เช่น ยาฆ่าแมลง และกัมมันตภาพรังสี สามารถทำให้ เกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้


อาการ

1. เลือดจาง ซีด
2. หน้ามืด เวียนศีรษะ เหนื่อยง่าย
3. เลือดออกง่ายบริเวณผิวหนัง เหงือก เป็นจ้ำตามตัว
4. ต่อมน้ำเหลืองโต อาจพบก้อนในท้องเนื่องจาก ตับ ม้ามโต
5. ระบบภูมิคุ้นกันของร่างกายผิดปกติ เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย มีไข้  

การตรวจวินิจฉัย

1. จากประวัติการเจ็บป่วย
2. การตรวจร่างกาย
3. การตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษา

โดยทั่วไปแล้วจะ ใช้การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดเป็นหลัก การปลูกถ่ายไขกระดูก และ รังสีรักษา จะเป็นการรักษาเสริมเพื่อให้ผลการรักษาดีขึ้นหรือหายขึ้นอยู่กับชนิดของ มะเร็งเม็ดเลือดขาว การตอบสนองต่การรักษาด้วยเคมีบำบัด และอายุของผู้ป่วย


2.มะเร็งต่อมน้ำเหลือง


มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นมะเร็งที่เกิดจากเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซด์ มีการเพิ่ม จำนวนและเจริญเติบโตผิดปกติ ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโตเร็วมาก มักพบบริเวณ ต่อมน้ำเหลือง ที่คอ รักแร้ และขาหนีบ ซึ่งหากไม่ได้ รับการรักษาแต่ต้นแล้ว มะเร็งจะกระจายไปสู่ระบบต่างๆ ของร่างกาย และทำให้การทำงานของร่างกาย ล้มเหลวถึงแก่ชีวิตได้

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1. มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮ๊อดกิ้น (Hodgkin's Lymphoma) ส่วนมากพบ ในเด็กและวัยหนุ่มสาว
2. มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนันฮ๊อดกิ้น (Non - Hodgkin's Lymphoma) มักพบในผู้ใหญ่ หรือผู้ที่มีการติดเชื้อโรคเอดส์ และพบในคนไทยมากกว่า ชนิดฮ๊อดกิ้น


อาการ

1. ต่อมน้ำเหลืองโต หรือมีก้อนที่โตเร็วไม่เจ็บบริเวณคอ รักแร้ และขาหนีบ
2. ปวดท้อง ท้องเสียเรื้อรัง
3. แผลเรื้อรังที่กระพุ้งแก้ม โพรงจมูก
4. ไข้สูงไม่ทราบสาเหตุ
อาการดังกล่าวส่วนมากไม่พบแต่เฉพาะในมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเท่านั้น อาจพบ ในมะเร็งระบบอื่นได้เช่นกัน




การรักษา

1. การใช้ยาเคมีบำบัด
2. การรักษาด้วยรังสี
3. การผ่าตัด
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองด้วย

การตรวจวินิจฉัย

1. ตรวจร่างกาย
2. เอ็กซเรย์
3. การตรวจทางพยาธิวิทยา

 ที่มา :

http://www.nci.go.th/knowledge/bloodw.htm
http://www.nci.go.th/knowledge/yellow.htm

โรคมะเร็ง

1.มะเร็งกระดูก

"มะเร็ง" โรคร้ายที่เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญในปัจจุบัน มะเร็งส่วนใหญ่สามารถบำบัดได้ และหลายชนิดที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยเฉพาะถ้าได้รับการบำบัดตั้งแต่เริ่มแรก... วันนี้เราจะพาเพื่อนๆ ไปทำความรู้จักกับ "มะเร็งกระดูก" มะเร็งที่พบได้น้อยมาก แต่ถ้าหากเป็นแล้ว อาการมักจะรุนแรงและกระจายไปสู่อวัยวะอื่นได้รวดเร็วมาก ส่วนใหญ่จะพบในคนอายุต่ำกว่า 35 ปี โดยเฉพาะในช่วงอายุ 10 - 20 ปี

         มะเร็งกระดูกถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ "มะเร็งที่แพร่กระจายมาจากมะเร็งของอวัยวะอื่น" เช่น จากต่อมลูกหมาก เต้านม ไทรอยด์ ฯลฯ โดยมักเกิดที่กระดูกแบนๆ เช่น กระดูกเชิงกราน กระดูกซี่โครง กระดูกกระโหลกศีรษะ เป็นต้น และ "มะเร็งที่เกิดกับกระดูกโดยตรง" คือ มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ของกระดูก ซึ่งพบได้น้อยกว่าชนิดแรก มักจะเป็นที่กระดูกของแขน ขา เป็นส่วนใหญ่ ส่วนน้อยเกิดบริเวณกระดูกขากรรไกร

          สำหรับ สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งกระดูกนั้น เช่นเดียวกับมะเร็งชนิดอื่นๆ คือยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน แต่มีสาเหตุบางประการซึ่งอาจเป็นปัจจัยเสริมให้เกิดมะเร็งของกระดูกได้ เช่น กระดูกได้รับอันตรายจากการหกล้ม และผู้ที่ได้รับสารกัมมันตรังสีบางอย่าง เช่น เรเดียม สตรอนเซียม ก็จะมีโอกาสเป็นมะเร็งของกระดูกได้มากกว่าคนธรรมดา 


อาการ


          ะพบว่ามีก้อนแข็งหรือปุ่มยื่นออกมาจากกระดูก ก้อนจะโตเร็ว ต่อมาจะมีอาการปวดร่วมด้วย บางรายมาด้วยอาการกระดูกหักแตกได้ง่ายจากการกระทบกระเทือนเพียงเล็กน้อย

การวินิจฉัย


          แพทย์จะตรวจร่างกายอย่างละเอียด มักต้องอาศัยการเอ็กซเรย์ร่วมด้วย บางรายแพทย์อาจตัดชิ้นเนื้อไปตรวจดูทางพยาธิวิทยา เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้องแม่นยำ และวางแผนการรักษาต่อไป 

การรักษา


          โดยทั่วไปอาศัยการผ่าตัดเป็นหลัก และอาจใช้การฉายแสงหรือยาเคมีบำบัดร่วมด้วยในบางกรณี 

ข้อพึงปฏิบัติ


          มะเร็งกระดูก แม้พบได้น้อย แต่เมื่อเป็นแล้วจะมีความรุนแรงมาก ผู้ป่วยจะมีอาการทรุดอย่างรวดเร็ว การวินิจฉัยโรคเร็ว และให้การรักษาโดยฉับพลัน จึงเป็นหัวใจของความอยู่รอด ดังนั้น เมื่อความผิดปกติเกิดขึ้นแก่กระดูก เช่น มีก้อนเกิดขึ้นบริเวณแขน ขา กระดูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กวัยเรียน ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว อย่าลังเลใจ เพื่อแพทย์จะได้แนะนำและให้การรักษาต่อไป

2.มะเร็งผิวหนัง

มะเร็งผิวหนัง เป็นมะเร็งที่สามารถพบได้เร็วกว่ามะเร็งชนิดอื่นเนื่องจากเห็นได้จากภายนอก สามารถรักษาให้หายขาดได้ ธรรมชาติของมะเร็งผิวหนังจะขยายตัวค่อนข้างช้าอาจนานถึง 5-6 ปี แต่ถ้าไม่รักษาจะมีผลต่ออวัยวะใกล้เคียงไปจนถึงเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้

มะเร็งผิวหนังจะมีลักษณะอย่างไร

 
1.
ผื่นแอคตินิค เคราโตซิล ( Actinic Keratisis = AKS ) เป็นการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ผิวหนังที่ผิดปกติ โดยมีลักษณะเป็นผื่นขุยๆ มักพบบริเวณหน้า แขน ลำตัว หลังมือ หรือบริเวณที่ได้รับแสงแดดมาก ถ้าไม่รักษาจะกลายเป็นมะเร็งผิวหนังได้
 
2.
มะเร็งบาซอล เซลล์ คาร์ซิโนมา ( Basal Cell Carcinoma = BCC ) เป็นมะเร็งผิวหนังที่ร้ายแรงน้อย เพราะเกิดบริเวณชั้นตื้นๆ มักเกิดการทำลาย เพราะบริเวณตำแหน่งที่เป็น ถ้าเป็นบริเวณใกล้เคียงอวัยวะที่สำคัญ เช่น ตา จมูก ปาก หู อาจทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะนั้นได้ มะเร็งชนิดนี้มักพบบริเวณ หู จมูก ใบหน้า หน้าอก หลัง ลักษณะที่พบมีหลายแบบ
    2.1 เป็นก้อนเนื้อนูนสีเดียวกับผิวหนัง หรือ ชมพูใส มีขอบ อาจมีเลือดออกบ่อยๆ
    2.2 ลักษณะคล้ายสิว เป็นๆ หายๆ มักมีเลือดออก
    2.3 ลักษณะเป็นก้อนแบนแข็งติดกับผิวหนัง
    2.4 ลักษณะเป็นก้อนขุย มีสะเก็ดดำเลือดออก
    อาการที่สำคัญ คือ มีการระคายเคืองบริเวณก้อนเนื้อ แผลเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ มีเลือดออก
 
3.
มะเร็งสะแควมัส เซลล์ คาร์ซิโนมา ( Squamous Cell Carcinoma = SCC ) ลักษณะคล้ายกับมะเร็งบาซอล เซลล์ คาร์ซิโนมา การลุกลามมักเร็วกว่ามะเร็งชนิด บาซอลเซลล์ คาร์ชิโนมา มักจะลุกลามลงลึกสู่ด้านล่างของเซลล์ผิวหนัง ถ้าคลำดูผิวหนังด้านล่างมักจะพบว่าเป็นก้อนแข็งๆ
 
4.
มะเร็งแมลิกแนนท์ เมลาโนมา ( Malignant Melanoma ) ลักษณะคล้ายไฝดำ แต่จะกระจายอย่างรวดเร็วสู่อวัยวะภายใจสามารถทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว จัดเป็นมะเร็งชนิดร้ายแรงที่สุด
มะเร็งบาซอล เซลล์ คาร์ซิโนมา และมะเร็งชนิดสะแควมัส เซลล์ คาร์ซิโนมา พบได้ตั้งแต่ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มักพบบ่อยในผู้ที่มีอายุ 60 - 80 ปี

สาเหตุการเกิด



 

 
1.
แสงแดดซึ่งมีรังสีอัลตร้าไวโอเล็ท ในช่วงเวลา 10.00 - 15.00 น.
 
2.
การระคายเคืองของสารเคมี เช่น การได้รับสารหนู ยาแผนโบราณ แหล่งน้ำ อาหาร
 
3.
การเป็นแผลเรื้อรังจะมีการเปลี่ยนแปลง มีการทำลายยีนส์ที่ควบคุมการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังตามปกติ
 
4.
พันธุกรรม

เราจะป้องกันได้อย่างไร

 
หลีกเลี่ยงแสงแดดในช่วงเวลา 10.00 - 15.00 น.
 
ใช้ครีมกันแดด ที่มีค่า SPF > 15
 
หลีกเลี่ยงภาวะที่เสี่ยงต่อการระคายเคืองของผิวหนัง เช่น การสัมผัสสารเคมีบ่อยๆ หรือ การใช้วัตถุขัดถูผิวหนังอย่างแรงๆ บางชนิด





ท่านทราบไหมว่า ไฝบางชนิดอาจกลายเป็นมะเร็งผิวหนัง เราจะสังเกตได้อย่างไร
 
ไฝที่มีลักษณะขอบไม่เรียบ
 
สีไฝไม่สม่ำเสมอ
 
ขนาดโตมากกว่า 6 มม.
 
เมื่อแบ่งเส้นผ่าศูนย์กลางแล้ว ลักษณะของไฝสองข้างจะไม่เหมือนกัน
มีวิธีการรักษาอย่างไร
 
ถ้าเป็นผื่นแอคตินิค เคราโตซิส สามารถใช้การจี้ด้วยความเย็นในการรักษาก็เพียงพอ
 
ถ้าลุกลามเป็นมะเร็งบาซอล เซลล์ คาร์ซิโนมา ใช้วิธีการจี้ไฟฟ้า ร่วมกับการขูดผิวหนังหรือการตัดออกและการผ่าตัดพิเศษที่เรียกว่า Moh's Surgery ซึ่งวิธีการใดขึ้นอยู่กับอายุของผู้ป่วย สภาพร่างกายของผู้ป่วย และลักษณะของเนื้อที่ผิดปกติ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัย
 
ถ้าเป็นมะเร็ง สะแควมัส เซลล์ คาร์ซิโนมา ต้องใช้วิธีการ ผ่าตัด Moh's Surgery
หากเกิดแผลเรื้อรังมากกว่า 2 สัปดาห์ มีเลือดออก มีการเปลี่ยนแปลงของไฝ ปาน ควรรีบมารับการตรวจจากแพทย์ผิวหนังโดยเร็ว
















































ที่มา :

 


















http://hilight.kapook.com/view/31164

www.ramaclinic.com

http://www.yourhealthyguide.com/article/ac-skin.html

โรคมะเร็ง...ช่วงท้อง

1.มะเร็งตับอ่อน 

มะเร็งตับอ่อนคืออะไร

ตับอ่อนเป็นอวัยวะในช่องท้องส่วนบน วางตัวแนวขวางกับลำตัว อยู่หลังกระเพาะอาหาร และอยู่หน้าต่อกระดูกสันหลังตับอ่อนมีรูปร่างคล้ายปลา ยาวประมาณ 6 นิ้ว และ กว้างไม่เกิน 2 นิ้ว

ตับอ่อนประกอบไปด้วย ต่อม 2 ชนิด คือ 
(1) ต่อมมีท่อ มีปริมาณมาก หน้าที่สร้างเอ็นไซม์ เพื่อย่อยไขมันและโปรตีนในอาหาร 
(2) ต่อมไร้ท่อ มีขนาดเล็ก และจำนวนน้อยกว่าต่อมมีท่อ อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน เช่น อินซูลิน 
           กลูคากอน เป็นต้น


ชนิดของมะเร็งในตับอ่อน

มะเร็งของตับอ่อนเกิดได้จากต่อมมีท่อ และต่อมไร้ท่อ ซึ่งชนิดที่พบได้บ่อยกว่า คือมะเร็งที่มาจากต่อมมีท่อ ดังนั้น
ส่วนมากเวลากล่าวถึงมะเร็งของตับอ่อน ก็เป็นที่เข้าใจว่าเป็นมะเร็งที่มาจากต่อมมีท่อ เนื้องอกที่ตับอ่อนที่ไม่ใช่มะเร็งพบได้
น้อย มะเร็งตับอ่อนจากต่อมทั้งสองชนิด ให้อาการ, อาการแสดง, การวินิจฉัย และการรักษาที่แตกต่างกัน รวมถึงพยากรณ์
โรคที่ต่างกันด้วย

เนื้องอกตับอ่อนที่มาจากต่อมมีท่อ

ส่วนมากของเนื้องอกชนิดนี้เรียกว่า อะดีโนคาซิโนมา (Adenocarcinoma) เป็นเนื้อร้าย (มะเร็ง) ซึ่งการรักษา
ขึ้นอยู่กับระยะของโรคซึ่งบอกถึงการลุกลามของโรคว่ามากน้อยเพียงใด
เนื้องอกตับอ่อนที่มาจากต่อมมีท่อ ชนิดพิเศษอีกชนิด เรียกว่า แอมพูลลารี่ (Ampullary cancer) เป็นมะเร็ง 
ที่มาจากท่อน้ำดีส่วนปลายที่เปิดเข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งอาการแสดงจะประกอบด้วย ตัวเหลือง ตาเหลือง การตรวจพบ
โรคนี้ในระยะเริ่มต้น จะช่วยให้โอกาสการรักษาสำเร็จมากขึ้นด้วย

เนื้องอกตับอ่อนที่มาจากต่อมไร้ท่อ

เป็นเนื้องอกที่พบได้น้อย มักจะรู้จักกันในชื่อ ไอซะเล็ท เซลล์ (Islet cell tumors or neuroendocrine 
      tumor) ซึ่งประกอบไปด้วยชนิดย่อยอีกหลายชนิด ส่วนมาก  ของเนื้องอกชนิดนี้มักจะไม่เป็นมะเร็ง แต่ก็มีส่วนน้อยที่เป็น
มะเร็งได้

สาเหตุของมะเร็งตับอ่อน

สาเหตุที่แท้จริงนั้นยังไม่เป็นที่ทราบชัด แต่มีปัจจัยเสี่ยงบางอย่างที่ทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งตับอ่อนมากขึ้น เช่น 
สูบบุหรี่ อายุ เชื้อชาติ
จากการศึกษาในปัจจุบันพบว่า ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อดีเอ็นเอของเซลล์ในตับอ่อนจะนำไปสู่การเกิดเนื้องอกที่ผิดปกติ 
(ดีเอ็นเอ คือ สารพันธุกรรมในเซลล์ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์)
แต่การมีปัจจัยเสี่ยงไม่ว่ามากหรือน้อย ไม่ได้หมายความว่า จะต้องเป็นโรคเสมอไป บางคนสามารถเกิดโรคได้โดย
ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงเลย


2.มะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่เป็นมะเร็งที่พบได้มาก เป็นอันดับ 2 ของ มะเร็งระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรีพบ ได้มากในช่วงอายุ 40-60 ปีในเด็กก่อนหรือหลังวัย 10 ปีก็อาจพบได้

เนื่องจากธรรมชาติของโรค โตและกระจายรวดเร็วในช่องท้อง สังเกตุได้ยากผู้ป่วยมักมาพบแพทย์เมื่อมี
อาการมากแล้ว

เป็นมะเร็งที่พบบ่อย ในหญิง แต่เป็นสาเหตุการตายเป็นอันดับแรกของโรคมะเร็งของระบบอวัยวะสืบพันธุ์
สตรี ทั้งนี้ เนื่องจากธรรมชาติของโรคที่สามารถโตและกระจายได้อย่างรวดเร็วในช่องท้อง และเป็นตำแหน่ง
ที่สังเกตได้ ยาก ผู้ป่วยจึงมักมาพบแพทย์ในระยะที่เป็นมากแล้ว


สาเหตุ 


ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบเหตุส่งเสริม ที่ทำให้เกิดมะเร็งรังไข่ ดังนี้ คือ
1.สภาพแวดล้อม เช่น สารเคมี อาหาร เนื่องจากพบว่าในประเทศ อุตสาหกรรมมีผู้ป่วยเป็น มะเร็งรังไข่
   มากกว่าประเทศเกษตรกรรม
2.สตรีที่ไม่มีบุตร หรือมีบุตรน้อย
3.ผู้ที่เคยเป็นมะเร็งที่เต้านม มะเร็ง มดลูก และมะเร็งระบบทางเดิน อาหาร โอกาสเป็น มะเร็งรังไข่มี 
    มากกว่าคนปกติ

สาเหตุไม่ทราบแน่ชัด มักพบในหญิงไม่มีบุตร หรือมีบุตรน้อย เคยเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก  และมะเร็งลำไส้ใหญ่ รับประทานอาหารไขมันสูงเป็นประจำ เคยใช้ยากระตุ้นการทำงานของรังไข่เพื่อให้มีบุตร

อาการ


1. อาจไม่มีอาการ แพทย์ตรวจพบโดยบังเอิญ
2. มีอาการท้องอืดเป็นประจำ
3. มีก้อนในท้องน้อย
4. ปวด แน่นท้อง และถ้าก้อนมะเร็งโตมากจะกด กระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ส่วนปลาย ทำให้ ถ่ายปัสสาวะ
    หรืออุจจาระลำบาก
5. ในระยะท้ายๆอาจมีน้ำในช่องท้องทำให้ท้องโต ขึ้นกว่าเดิม เบื่ออาหาร ผอมแห้ง น้ำหนักลด

อาการและอาการแสดง ในระยะเริ่มแรกอาการไม่แน่นอน ปวดท้อง แน่นท้อง น้ำหนักลด เบื่ออาหาร คลำพบก้อนในท้อง หรือในอุ้งเชิงกราน เมื่อก้อนโตขึ้นกดเบียดกะเพาะปัสสาวะก็จะทำให้ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะขัด ถ้าก้อนไปกดลำไส้ใหญ่ส่วนปลายทำให้ปวดถ่วงและถ่ายอุจจาระลำบาก เมื่อมีการกระจายตัว
ของเซลล์มะเร็งในช่องท้องก็จะมีนำในท้อง ประจำเดือนผิดปกติ



การวินิจฉัย 


1. การตรวจภายในอาจคลำพบก้อนใน บริเวณท้องน้อย การคลำพบก้อนรังไข่ได้ในสตรีวัย หมดประจำเดือน
    ควรนึกถึงมะเร็งของรังไข่ไว้ด้วย (เพราะตามปกติวัยหมดประจำเดือน รังไข่จะฝ่อ)
2. การทำแพพสเมียร์จากในช่องคลอด ส่วนบนทางด้านหลัง อาจพบเซลล์มะเร็งของรังไข่ ได้
3.การตรวจด้วยเครื่องความถี่สูงอาจช่วยบอกได้ว่ามีก้อนในท้อง ในรายที่อ้วนหรือหน้าท้อง หนามาก
    คลำด้วยมือตาม ปกติตรวจไม่พบ
4. การผ่าตัดเปิดช่องท้อง และตรวจดู เป็นวิธีที่สำคัญ และแม่นยำที่สุดในการวินิจฉัยโรค อย่างแน่นอน
    สามารถ ขลิบหรือตัดเอาเนื้อมาตรวจหาชนิดของมะเร็ง และทราบถึงระยะ ของโรค ด้วย
5. การวินิจฉัย การตรวจภายใน เอ็กซเรย์หรือ ULTRASOUND หากพบก้อนที่น่าสงสัย ควรทำผ่าตัด
    ทุกราย เพื่อนำก้อนเนื้อไปพิสูจน์ทางพยาธิวิทยา 


การรักษา 


การผ่าตัดเป็นวิธีแรกที่แพทย์จะเลือกทำการ รักษา ถ้าไม่สามารถตัดออกได้หมดเนื่องจาก โรคกระจายออกไปมากแล้ว แพทย์จะพยายาม ตัดออกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วจะให้ การรักษาต่อด้วยเคมีบำบัด หรือรังสีบำบัด

การรักษา โดยการผ่าตัดเป็นหลัก ปัจจุบันผลการรักษาอยู่ในเกณฑ์ดีแม้เป็นระยะลุกลามก็สามารถควบคุมโรค
ได้ระยะเวลานาน ผลการรักษาขึ้นกับระยะของโรค
ดังนั้นการตรวจพบระยะแรก ๆ เท่านั้นจึงจะรักษาให้หายได้ ข้อควรปฏิบัติ ตรวจภายในปีละครั้งหลังอายุ
40 ปี สังเกตุอาการผิดปกติ ความผิดปกติของประจำเดือน เช่น เริ่มขาดประจำเดือนก่อนวัยอันควร มีเลือด
ออกผิดปกติ ปวดท้องน้อยควรพบแพทย์ทันที

การป้องกัน 


เนื่องจากมะเร็งรังไข่ในระยะแรก ๆ มักจะไม่มีอาการ อีกทั้งยังไม่ทราบสาเหตุที่ แท้จริง การป้องกันจึงทำได้ยาก ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ รับการตรวจภายในหรือตรวจด้วยคลื่นความ ถี่สูง โดยแพทย์อย่างน้อยปีละครั้ง

ข้อควรปฏิบัติ


1. ควรได้รับการตรวจภายในปีละครั้ง หลังอายุ 40 ปี
2. หากมีความผิดปกติของประจำเดือน เช่น ขาดประจำเดือนก่อนวัยอันควร การมีเลือดออกผิดปกติ ปวด
    ท้องน้อย หรือสงสัยมีก้อนบริเวณท้องน้อย ควรพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจภายใน 





 ที่มา :


http://www.chulacancer.net/newpage/information/pancreas_cancer/what-is.html

http://www.thailabonline.com/sec7caovary.htm

โรคมะเร็ง...ลำคอ

1.มะเร็งกล่องเสียง

มะเร็งกล่องเสียง เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในเพศชาย โดยพบในอัตราส่วน ชายต่อหญิง เป็น 10 ต่อ 1 ซึ่งพบได้ประมาณ 2.8% ของมะเร็งทั้งหมด และพบมากในช่วงอายุ 50 – 60 ปี ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งกล่องเสียงก็คือ การสูบบุหรี่และการดื่มเหล้า   

อาการแสดงของมะเร็งกล่องเสียง            

ผู้ป่วยมักจะไปพบแพทย์ด้วยอาการเสียงแหบโดยมักไม่มีอาการเจ็บคอร่วมด้วย ซึ่งหากรอยโรคอยู่ที่ตำแหน่งของสายเสียงจะแสดงอาการนี้ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก และสามารถทำการรักษาให้หายได้ แต่หากเป็นที่ตำแหน่งอื่นของกล่องเสียง อาการเสียงแหบมักจะแสดงออกในระยะที่ลุกลามแล้ว และบางครั้งอาจมีอาการกลืนลำบากร่วมด้วย    

การรักษามะเร็งกล่องเสียง            

ในระยะเริ่มแรกจะใช้การฉายรังสีเป็นหลัก เพราะให้ผลการรักษาได้เท่าเทียมกับการผ่าตัด และยังสามารถรักษากล่องเสียงไว้ได้ซึ่งทำให้ผู้ป่วยยังคงพูดได้เป็นปกติ แต่ในระยะลุกลามจะใช้การรักษาร่วมระหว่างการผ่าตัดและฉายรังสี


ข้อควรปฏิบัติ

 เมื่อมีอาการเสียงแหบเกินกว่า 2 สัปดาห์ โดยเฉพาะเมื่อไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น อาการไอ และเจ็บคอ ควรไปพบแพทย์ทาง หู คอ จมูก หรือแพทย์ผู้ชำนาญทางโรคมะเร็ง เพื่อส่องตรวจดูในคอบริเวณกล่องเสียงว่ามีความผิดปกติใดหรือไม่ ซึ่งหากพบความผิดปกติตั้งแต่ระยะแรกจะได้ผลการรักษาที่ดียิ่งขึ้น


2.มะเร็งต่อมธัยรอยด์

ปัจจัยเสี่ยง

- ได้รับการฉายรังสีในบริเวณคอ 
- มีประวัติครอบครัว

        

อาการ

- เนื้องอกต่อมธัยรอยด์หรือคอพอกที่โตขึ้นเร็ว 
- ผู้ป่วยที่มีเนื้องอกต่อมธัยรอยด์ร่วมกับมีเสียง แหบและกลืนสำลัก 
- มีต่อมน้ำเหลืองที่คอโต
                                                                                                                          

    การวินิจฉัย 

    - การเจาะดูดเนื้องอกไปตรวจ 
    - การได้ชิ้นเนื้อจากการผ่าตัดมาพิสูจน์

    การรักษา

    - การผ่าตัด
    - การให้สารกัมมันตรังสีไอโอดีน 131
    - การฉายแสง
    - การรักษาจะใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง และความรุนแรงของโรค
    - มะเร็งต่อมธัยรอยด์เป็นโรคหนึ่งที่การรักษาได้ผลดี ถ้าได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก



     ที่มา :


    http://medinfo2.psu.ac.th/cancer/db/news_ca.php?newsID=12&typeID=18&form=2



    http://www.nci.go.th/knowledge/tomt.htm

    โรคมะเร็ง...บนหน้า

    1.มะเร็งในช่องปาก

    มะเร็งในช่องปากคืออะไร

    มะเร็งในช่องปากคือมะเร็งที่เกิดขึ้นที่ริมฝีปาก  หรือภายในช่องปาก หรือในช่องคอ หรือต่อมน้ำลายหรือต่อมทอนซิล โดยจะพบในชายมากกว่าหญิง และพบมากในคนอายู 40 ปีขึ้นไป ซึ่งการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยเสี่ยงหลัก ถ้าตรวจพบเร็ว มะเร็งในช่องปากสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด การฉายรังสี หรือ เคมีบำบัด มะเร็งในช่องปากอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้  สาเหตุส่วนหนึ่งของการตรวจไม่พบคือการไม่รู้ว่ามีอาการเริ่มแรก ดังนั้นการตรวจพบมะเร็งในช่องปากในระยะแรกจึงเป็นปัจจัยสำคัญของการรักษา




    อาการของมะเร็งในช่องปากมีอะไรบ้าง

    • อาการเจ็บที่ริมฝีปาก เหงือก หรือภายในช่องปาก ซึ่งมีเลือดออกได้ง่าย และไม่หายขาด
    • ตุ่มหรือก้อนบริเวณแก้มซึ่งสามารถรู้สึกได้ด้วยลิ้น
    • การสูญเสียความรู้สึก หรืออาการชาในบริเวณใดก็ตามของช่องปาก
    • ฝ้าขาวหรือแดงที่เหงือก ลิ้น หรือภายในช่องปาก
    • ปัญหาในการเคี้ยวหรือกลืนอาหาร
    • อาการเจ็บที่ปากที่หาสาเหตุไม่ได้ หรือความรู้สึกว่ามีบางอย่างติดคอโดยหาสาเหตุไม่ได้
    • การบวมของขากรรไกรทำให้การสบฟันผิดปกติ
    • เสียงเปลี่ยนไป

    เราจะป้องกันมะเร็งในช่องปากได้อย่างไร

    ถ้าเราไม่ได้สูบบุหรี่ หรือเคี้ยวใบยาสูบ ก็ไม่ควรจะเริ่ม เนื่องจากยาสูบเป็นสาเหตุหลักในการเกิดมะเร็งในช่องปากถึง 80 - 90 %
    การสูบบุหรี่ — ความเกี่ยวข้องกันระหว่างการสูบบุหรี่กับมะเร็งปอดและโรคหัวใจเป็นเรื่องที่ รับรู้กันอย่างแพร่หลาย การสูบบุหรี่ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของคุณด้วย ทำให้การต่อต้านการติดเชื้อ และการฟื้นตัวหลังอุบัติเหตุและการผ่าตัดยากขึ้น ในกลุ่มเด็กวัยรุ่น การสูบบุหรี่ทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก และมีปัญหาในพัฒนาการด้านต่าง ๆ ผู้สูบบุหรี่ส่วนมากจะไม่สามารถรับรู้กลิ่นหรือรสชาติได้ดีเท่าเดิม และยังทำให้เกิดกลิ่นปากและคราบบนฟัน สุขภาพของช่องปากของคุณอยู่ในจุดเสี่ยงทุกครั้งที่จุดบุหรี่ การสูบบุหรี่ ไพพ์ หรือซิการ์ เพิ่มโอกาสในการเกิดมะเร็งที่กล่องเสียง ปาก คอ และหลอดอาหาร เนื่องจากหลาย ๆ คนไม่ได้ระวังถึงอาการเริ่มแรก มะเร็งในช่องปากจึงมักจะกระจายก่อนที่จะถูกตรวจพบ
    การเคี้ยวใบยาสูบ
    — การเคี้ยวใบยาสูบสามารถทำให้เกิดมะเร็งในช่องปากมากกว่าถึง 50 เท่า การงดสูบบุหรี่ ซิการ์ หรือ ไพพ์ และการงดเคี้ยวใบยาสูบจึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำ ผู้ที่หยุดจะลดโอกาสการเกิดมะเร็งในช่องปากได้อย่างมาก แม้ว่าจะผ่านการใช้ยาสูบมาเป็นเวลาหลายปีก็ตาม การดื่มแอลกอฮอล์จำนวนมากหรือเป็นประจำ




    มะเร็งในช่องปากรักษาได้อย่างไร

    หลังจากที่ตรวจพบแล้ว ทีมผู้เชี่ยวชาญ  จะทำแผนการรักษาเพื่อให้เหมาะกับแต่ละผู้ป่วย ส่วนใหญ่มักจะต้องมีการผ่าตัด ตามด้วยการฉายรังสี และเคมีบำบัด เป็นการดีที่จะพบทันตแพทย์ที่มีความคุ้นเคยกับการเปลี่ยนแปลงที่การรักษา ต่าง ๆ เหล่านี้สามารถทำให้เกิดในช่องปาก

    ทุกครั้งที่คุณรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีแป้งและน้ำตาล แบคทีเรียจะสร้างกรดที่ทำลายเคลือบฟันเป็นเวลา 20 นาทีหรือนานมากนั้น เพื่อลดความเสียหายของเคลือบฟัน ควรจะลดจำนวนครั้งในการรับประทานอาหารระหว่างมื้อ และเมื่อต้องรับประทานอาหารว่าง ควรเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น เนยแข็ง ผักสด โยเกิร์ต หรือผลไม้ 

     

    ผลข้างเคียงในช่องปากของการฉายรังสีมีอะไรบ้าง

    เมื่อมีการฉายรังสีที่ส่วนศรีษะและลำคอ หลาย ๆ คนอาจจะมีอาการระคายเคืองในช่องปาก ปากแห้ง มีความลำบากในการกลืนอาหาร หรือการรับรู้รสชาติที่เปลี่ยนไป การฉายรังสียังเพิ่มโอกาสของฟันผุอีกด้วย ดังนั้นการดูแลฟัน เหงือก ช่องปากและคอจึงเป็นสิ่งสำคัญในระหว่างการฉายรังสี ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการรักษามะเร็งและทันตแพทย์เกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ที่คุณพบระหว่างและหลังจากการฉายรังสี นอกจากนี้ควรปรึกษาทันตแพทย์ของคุณก่อนที่รับการรักษามะเร็งที่บริเวณศรีษะ และลำคอ สิ่งที่คุณทำทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการรักษา จะช่วยป้องกันผลข้างเคียงได้ 




    เราจะรักษาสุขภาพปากและฟันที่ดีอย่างไรในระหว่างการรักษา

    ควรแปรงฟันด้วยแปรงสีฟันที่มีขนแปรงอ่อนนุ่มหลังอาหาร และใช้ไหมขัดฟันทุกวัน หลีกเลี่ยงเครื่องเทศและอาหารที่ย่อยยาก เช่น ผักดิบ แครกเกอร์ และถั่ว ควรหลีกเลี่ยงยาสูบและแอลกอฮอล์ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ควรเคี้ยวหมากฝรั่งหรือลูกอมที่ปราศจากน้ำตาลเพื่อให้ปากชุ่มชื่น
    ก่อนที่จะรับการฉายรังสี ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ของคุณทราบเพื่อทำการตรวจอย่างละเอียด และควรให้ทันตแพทย์ของคุณคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านการฉายรังสีก่อนที่จะเริ่ม รับการรักษาด้วย 




    2.มะเร็งโพรงหลังจมูก

    มะเร็งโพรงหลังจมูก เป็นมะเร็งที่พบมากอีกโรคหนึ่งโดยเฉพาะคนเชื้อชาติจีน มะเร็งโพรงหลังจมูกส่วนใหญ่จะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง สาเหตุส่งเสริมมาจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า เอ็บสไตน์บาร์ ไวรัส การรับประทานอาหารที่มีสารไนโตรซามีน ซึ่งมีอยู่ในอาหารเนื้อสัตว์หมักดอง เช่น ไส้กรอก แหนม ปลาร้า เนื้อสัตว์ย่างต่าง ๆ ปลาเค็ม เป็นต้น นอกจากนี้ยังเกิดจากการอักเสบเรื้อรังของโพรงหลังจมูก และสุขภาพของช่องปากไม่ดีอีกด้วย




    อาการแสดงของมะเร็งโพรงหลังจมูก

       1. อาการทางจมูก มีอาการระคายเคืองหลังโพรงจมูก มีน้ำมูกปน  เลือด มีเลือดออกทางจมูกบ่อย ๆ แน่นหรือคัดจมูก หรือเสียงเปลี่ยนไป
    2. อาการทางหู มักจะเกี่ยวข้องกับการอุดตันของท่อปรับความดันของหูชั้นกลาง อันเนื่องมาจากการลุกลามของมะเร็ง เป็นผลให้ความกดอากาศในหูชั้นกลางลดลง ทำให้มีอาการหูอื้อ ซึ่งอาการจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
    3. อาการทางระบบประสาท ทำให้มีอาการชาหรือ เจ็บเสียวที่แก้มข้างเดียวกับมะเร็ง นอกจาก นี้ยังมีอาการกล้ามเนื้อตาเป็นอัมพาต ทำให้มองเห็นภาพซ้อน และมีอาการตาเหล่ การรับกลิ่นเสียไป
    4. ก้อนบริเวณคอ เมื่อมะเร็งลุกลามไปถึงต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ ผู้ป่วยอาจมาด้วยก้อนเพียงก้อนเดียว หลายก้อนติดกันหรือห่างกัน แต่ที่พบบ่อยมักจะเป็นเพียงก้อนเดียว มีลักษณะแข็งไม่เจ็บและเคลื่อนไปมาได้
    5. อาการอื่น ๆ ที่พบบ่อยคือ น้ำหนักลด เบื่ออาหาร มีไข้ต่ำ ๆ และอาจจะมีอาการอ้าปากไม่ขึ้น สำลักน้ำขึ้นจมูก เป็นต้น





    การวินิจฉัยมะเร็งโพรงหลังจมูก          

     - การตรวจร่างกายและตรวจโพรงหลังจมูก
     - การตัดชิ้นเนื้อ จากเนื้องอกในโพรงจมูกไปตรวจทางพยาธิวิทยา และการตรวจเลือด


    การรักษา          

              1. การฉายรังสีรักษา เป็นที่นิยมและยอมรับว่าเป็นการรักษาที่ เหมาะสมที่สุดในปัจจุบัน
              2. เคมีบำบัด
              3. การรักษาแบบผสมผสาน เช่น การฉายแสง ร่วมกับ เคมีบำบัด







     ที่มา :


    http://medinfo2.psu.ac.th/cancer/db/news_ca.php?newsID=15&typeID=18&form=2

    www.colgate.co.th/app/CP/TH/TH/OC/Information/Articles/Oral-and-Dental-Health-Basics/Medical-Conditions/Cancer-Oral-Health/article/Oral-Cancer-Signs-and-Symptoms.cvsp

    โรคไต

    1.โรคไต

    •โรคไตวายฉับพลันจากเหตุต่างๆ
           
    •โรคไตวายเรื้อรังเกิดตามหลังโรคเบาหวาน โรคไตอักเสบ หรือโรคความดันโลหิตสูง
           
    •โรคไตอักเสบเนโฟรติก
           
    •โรคไตอักเสบจากภาวะภูมิคุ้มกันสับสน (โรค เอส.แอล.อี.)
           
    •โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
           
    •โรคถุงน้ำที่ไต (Polycystic Kidney Disease)



    อาการ

           
    • ปัสสาวะเป็นเลือด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรคไต แต่ก็อาจจะไม่ใช่ก็ได้ โดยจะปัสสาวะเป็นเลือด อาจเป็นเลือดสดๆ เลือดเป็นลิ่มๆ
           
    • ปัสสาวะเป็นสีแดง สีน้ำล้างเนื้อ สีชาแก่ๆ หรือปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้ม ก็ได้
           
    • ปัสสาวะเป็นฟองมาก เพราะมี albumin หรือโปรตีนออกมามาก จะทำให้ปัสสาวะมีฟองขาวๆ เหมือนฟองสบู่
           
    • การมีปัสสาวะเป็นเลือด พร้อมกับมีไข่ขาว-โปรตีนออกมาในปัสสาวะพร้อมๆ กัน เป็นข้อสันนิฐาน ที่มีน้ำหนักมากว่าจะเป็นโรคไต
           
    • ปัสสาวะขุ่น อาจเกิดจากมี เม็ดเลือดแดง (ปัสสาวะเป็นเลือด) เม็ดเลือดขาว (มีการอักเสบ) มีเชื้อแบคทีเรีย (แสดงว่ามีการติดเชื้อ) หรืออาจเกิดจากสิ่งที่ร่างกายขับออกจากไต แต่ละลายได้ไม่ดี เช่น พวกผลึกคริสตัลต่างๆ เป็นต้น
           
    • การผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะ เช่นการถ่ายปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบ ปัสสาวะราด เบ่งปัสสาวะ อาการเหล่านี้ ล้วนเป็นอาการผิดปกติ ของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก และท่อทางเดินปัสสาวะ
           
    • การปวดท้องอย่างรุนแรง (colicky pain) ร่วมกับการมีปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่น หรือมีกรวดทราย แสดงว่าเป็นนิ่วในไต และทางเดินปัสสาวะ
           
    • การมีก้อนบริเวณไต หรือบริเวณบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง อาจเป็นโรคไต เป็นถุงน้ำการอุดตันของไต หรือเนื้องอกของไต
           
    • การปวดหลัง ในกรณีที่เป็นกรวยไตอักเสบ จะมีอาการไข้หนาวสั่น และปวดหลังบริเวณไต คือ บริเวณสันหลังใต้ซี่โครงซีกสุดท้าย
           
    • อาการบวม โดยเฉพาะการบวมที่บริเวณ หนังตาในตอนเช้า หรือหน้าบวม ซึ่งถ้าเป็นมาก จะมีอาการบวมทั่วตัว อาจเกิดได้ในโรคไตหลายชนิด แต่ที่พบได้บ่อย โรคไตอักเสบชนิดเนฟโฟรติค ซินโดรม (Nephrotic Syndrome)
           
    • ความดันโลหิตสูง เนื่องจากไตสร้างสารควบคุมความดันโลหิต ประกอบกับไต มีหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำ และเกลือแร่ในร่างกาย เพราะฉะนั้นความดันโลหิต สูงอาจเป็นจากโรคไตโดยตรง หรือในระยะไตวายมากๆ ความดันโลหิตก็จะสูง ได้
           
    • ซีดหรือโลหิตจาง เช่นเดียวกับความดันโลหิตสูง สาเหตุของโลหิตจางมีได้ หลายชนิด แต่สาเหตุที่เกี่ยวกับโรคไตก็คือ โรคไตวายเรื้อรัง (Chronic renal failure) เนื่องจากปกติ ไตจะสร้างสารอีริโธรโปอีติน (Erythopoietin) เพื่อไปกระตุ้นให้ไขกระดูก สร้างเม็ดเลือดแดง เมื่อเกิดไตวายเรื้อรัง ไตจะไม่สามารถสร้างสารอีริโธรโปอีติน (Erythopoietin) ไปกระตุ้นไขกระดูก ทำให้ซีด หรือโลหิตจาง มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หน้ามืด เป็นลมบ่อยๆ
    อย่างไรก็ตาม ควรต้องไปพบแพทย์ ทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด เอ็กซ์เรย์ จึงจะพอบอกได้แน่นอนขึ้น ว่าเป็นโรคไตหรือไม่





    สาเหตุ

           
    • เป็นมาแต่กำเนิด (Congenital) เช่นมีไตข้างเดียว หรือไตมีขนาดไม่เท่ากัน โรคไตเป็นถุงน้ำ (Polycystic kidney disease) ซึ่งเป็น กรรมพันธุ์ด้วย เป็นต้น
           
    • เกิดจากการอักเสบ (Inflammation) เช่นโรคของกลุ่มเลือดฝอยของไตอักเสบ (glomerulonephritis)
           
    • เกิดจากการติดเชื้อ (Infection) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเป็นส่วนใหญ่ เช่นกรวยไตอักเสบ ไตเป็นหนอง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (จากเชื้อ โรค) เป็นต้น
           
    • เกิดจากการอุดตัน (Obstruction) เช่นจากนิ่ว ต่อมลูกหมากโต มะเร็งมดลูกไปกดท่อไต เป็นต้น
           
    • เนื้องอกของไต ซึ่งมีได้หลายชนิด



    แนะนำ

           
    1. กินอาหารโปรตีนต่ำ หรืออาหารโปรตีนต่ำมาก ร่วมกับกรดอะมิโนจำเป็น
    โดยกินอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพสูง ซึ่งหมายถึงโปรตีน ที่ได้จากเนื้อสัตว์ทุกชนิด จำนวน 0.6 กรัม ของโปรตีน / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม / วัน โดยไม่ต้องให้กรดอะมิโนจำเป็น หรือกรดคีโต (Keto Acid) เสริม เพราะอาหารโปรตีนในขนาดดังกล่าวข้างต้น ให้กรดอะมิโนจำเป็นในปริมาณที่พอเพียง กับความต้องการของร่างกายอยู่แล้ว

    เช่น ผู้ป่วยซึ่งมีน้ำหนักตัวเฉลี่ย ประมาณ 50-60 กิโลกรัม ควรกินอาหาร ที่มีปริมาณโปรตีนสูงประมาณ 30-60 กรัม / วัน อาจจำกัดอาหารโปรตีน เพื่อชะลอการเสื่อมหน้าที่ ของไตได้อีกวิธีหนึ่ง โดยให้ผู้ป่วยกินอาหารโปรตีนต่ำมาก (0.4 กรัม / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม / วัน) ร่วมกับกรดอะมิโนจำเป็น หรืออนุพันธ์คีโต (Keto Analog) ของกรดอะมิโนจำเป็น ในกรณีผู้ป่วยมีน้ำหนักเฉลี่ย 50-60 กิโลกรัม ควรกินโปรตีนประมาณ 20-25 กรัม / วัน เสริมด้วยกรดอะมิโนจำเป็น หรืออนุพันธ์ครีโตของกรดอะมิโนจำเป็น 10-12 กรัม / วัน
                             
           
    2. กินอาหารที่มีโคเลสเตอรอลต่ำ โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง ควรควบคุมปริมาณโคเลสเตอรอล ในอาหารแต่ละวันไม่ให้เกิน 300 มิลลิกรัม / วัน ด้วยการจำกัดอาหาร ที่มีโคเลสเตอรอลมาก เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ทุกชนิด และนม เป็นต้น
                             
           
    3. งดกินอาหารที่มีฟอสเฟตสูง ฟอสเฟตมักพบในอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่แดง นม และเมล็ดพืชต่างๆ เช่น ถั่วลิสง เม็ดทานตะวัน เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดอัลมอนด์ ควรหลีกเลี่ยงอาหารดังกล่าว พบว่าอาหารที่มีฟอสเฟตสูง จะเร่งการเสื่อมของโรคไตวายเรื้อรัง ให้รุนแรงมากขึ้น และมีความรุนแรงของ การมีโปรตีนรั่วทางปัสสาวะมากขึ้น นอกเหนือจากผลเสีย ต่อระบบกระดูกดังกล่าว
                             
           
    4. ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ไม่มีอาการบวม การกินเกลือในปริมาณไม่มากนัก โดยไม่ต้องถึงกับงดเกลือโดยสิ้นเชิง แต่ไม่ควรกินเกลือเพื่อการปรุงรสเพิ่ม ผู้ป่วยที่มีอาการบวมร่วมด้วย ควรจำกัดปริมาณเกลือที่กินต่อวันให้น้อยกว่า 3 กรัมของน้ำหนักเกลือแกง (เกลือโซเดียมคลอไรด์) ต่อวัน ซึ่งทำได้โดยกินอาหารที่มีรสชาติจืด งดอาหารที่มีปริมาณเกลือมาก ได้แก่ เนื้อสัตว์ทำเค็ม หรือหวานเค็ม เช่น เนื้อเค็ม ปลาแห้ง กุ้งแห้ง รวมถึงหมูแฮม หมูเบคอน ไส้กรอก ปลาริวกิว หมูสวรรค์ หมูหยอง หมูแผ่น ปลาส้ม ปลาเจ่า เต้าเจี้ยว งดอาหารบรรจุกระป๋อง เช่น ปลากระป๋อง เนื้อกระป๋องข้างต้น
          5.  ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่มีน้ำหนักเกิน น้ำหนักจริงที่ควรเป็น (Ideal Weight for Height) ในคนปกติ ควรจำกัดปริมาณแคลอรี ให้พอเพียงในแต่ละวันเท่านั้น คือ ประมาณ 30-35 กิโลแคลอรี / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม / วัน




     ที่มา :


    www.dmsc.moph.go.th
     
    www.yourhealthyguide.com/article/ak-kidney-4.html