วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

โรคมะเร็ง...ช่วงท้อง

1.มะเร็งตับอ่อน 

มะเร็งตับอ่อนคืออะไร

ตับอ่อนเป็นอวัยวะในช่องท้องส่วนบน วางตัวแนวขวางกับลำตัว อยู่หลังกระเพาะอาหาร และอยู่หน้าต่อกระดูกสันหลังตับอ่อนมีรูปร่างคล้ายปลา ยาวประมาณ 6 นิ้ว และ กว้างไม่เกิน 2 นิ้ว

ตับอ่อนประกอบไปด้วย ต่อม 2 ชนิด คือ 
(1) ต่อมมีท่อ มีปริมาณมาก หน้าที่สร้างเอ็นไซม์ เพื่อย่อยไขมันและโปรตีนในอาหาร 
(2) ต่อมไร้ท่อ มีขนาดเล็ก และจำนวนน้อยกว่าต่อมมีท่อ อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน เช่น อินซูลิน 
           กลูคากอน เป็นต้น


ชนิดของมะเร็งในตับอ่อน

มะเร็งของตับอ่อนเกิดได้จากต่อมมีท่อ และต่อมไร้ท่อ ซึ่งชนิดที่พบได้บ่อยกว่า คือมะเร็งที่มาจากต่อมมีท่อ ดังนั้น
ส่วนมากเวลากล่าวถึงมะเร็งของตับอ่อน ก็เป็นที่เข้าใจว่าเป็นมะเร็งที่มาจากต่อมมีท่อ เนื้องอกที่ตับอ่อนที่ไม่ใช่มะเร็งพบได้
น้อย มะเร็งตับอ่อนจากต่อมทั้งสองชนิด ให้อาการ, อาการแสดง, การวินิจฉัย และการรักษาที่แตกต่างกัน รวมถึงพยากรณ์
โรคที่ต่างกันด้วย

เนื้องอกตับอ่อนที่มาจากต่อมมีท่อ

ส่วนมากของเนื้องอกชนิดนี้เรียกว่า อะดีโนคาซิโนมา (Adenocarcinoma) เป็นเนื้อร้าย (มะเร็ง) ซึ่งการรักษา
ขึ้นอยู่กับระยะของโรคซึ่งบอกถึงการลุกลามของโรคว่ามากน้อยเพียงใด
เนื้องอกตับอ่อนที่มาจากต่อมมีท่อ ชนิดพิเศษอีกชนิด เรียกว่า แอมพูลลารี่ (Ampullary cancer) เป็นมะเร็ง 
ที่มาจากท่อน้ำดีส่วนปลายที่เปิดเข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งอาการแสดงจะประกอบด้วย ตัวเหลือง ตาเหลือง การตรวจพบ
โรคนี้ในระยะเริ่มต้น จะช่วยให้โอกาสการรักษาสำเร็จมากขึ้นด้วย

เนื้องอกตับอ่อนที่มาจากต่อมไร้ท่อ

เป็นเนื้องอกที่พบได้น้อย มักจะรู้จักกันในชื่อ ไอซะเล็ท เซลล์ (Islet cell tumors or neuroendocrine 
      tumor) ซึ่งประกอบไปด้วยชนิดย่อยอีกหลายชนิด ส่วนมาก  ของเนื้องอกชนิดนี้มักจะไม่เป็นมะเร็ง แต่ก็มีส่วนน้อยที่เป็น
มะเร็งได้

สาเหตุของมะเร็งตับอ่อน

สาเหตุที่แท้จริงนั้นยังไม่เป็นที่ทราบชัด แต่มีปัจจัยเสี่ยงบางอย่างที่ทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งตับอ่อนมากขึ้น เช่น 
สูบบุหรี่ อายุ เชื้อชาติ
จากการศึกษาในปัจจุบันพบว่า ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อดีเอ็นเอของเซลล์ในตับอ่อนจะนำไปสู่การเกิดเนื้องอกที่ผิดปกติ 
(ดีเอ็นเอ คือ สารพันธุกรรมในเซลล์ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์)
แต่การมีปัจจัยเสี่ยงไม่ว่ามากหรือน้อย ไม่ได้หมายความว่า จะต้องเป็นโรคเสมอไป บางคนสามารถเกิดโรคได้โดย
ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงเลย


2.มะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่เป็นมะเร็งที่พบได้มาก เป็นอันดับ 2 ของ มะเร็งระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรีพบ ได้มากในช่วงอายุ 40-60 ปีในเด็กก่อนหรือหลังวัย 10 ปีก็อาจพบได้

เนื่องจากธรรมชาติของโรค โตและกระจายรวดเร็วในช่องท้อง สังเกตุได้ยากผู้ป่วยมักมาพบแพทย์เมื่อมี
อาการมากแล้ว

เป็นมะเร็งที่พบบ่อย ในหญิง แต่เป็นสาเหตุการตายเป็นอันดับแรกของโรคมะเร็งของระบบอวัยวะสืบพันธุ์
สตรี ทั้งนี้ เนื่องจากธรรมชาติของโรคที่สามารถโตและกระจายได้อย่างรวดเร็วในช่องท้อง และเป็นตำแหน่ง
ที่สังเกตได้ ยาก ผู้ป่วยจึงมักมาพบแพทย์ในระยะที่เป็นมากแล้ว


สาเหตุ 


ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบเหตุส่งเสริม ที่ทำให้เกิดมะเร็งรังไข่ ดังนี้ คือ
1.สภาพแวดล้อม เช่น สารเคมี อาหาร เนื่องจากพบว่าในประเทศ อุตสาหกรรมมีผู้ป่วยเป็น มะเร็งรังไข่
   มากกว่าประเทศเกษตรกรรม
2.สตรีที่ไม่มีบุตร หรือมีบุตรน้อย
3.ผู้ที่เคยเป็นมะเร็งที่เต้านม มะเร็ง มดลูก และมะเร็งระบบทางเดิน อาหาร โอกาสเป็น มะเร็งรังไข่มี 
    มากกว่าคนปกติ

สาเหตุไม่ทราบแน่ชัด มักพบในหญิงไม่มีบุตร หรือมีบุตรน้อย เคยเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก  และมะเร็งลำไส้ใหญ่ รับประทานอาหารไขมันสูงเป็นประจำ เคยใช้ยากระตุ้นการทำงานของรังไข่เพื่อให้มีบุตร

อาการ


1. อาจไม่มีอาการ แพทย์ตรวจพบโดยบังเอิญ
2. มีอาการท้องอืดเป็นประจำ
3. มีก้อนในท้องน้อย
4. ปวด แน่นท้อง และถ้าก้อนมะเร็งโตมากจะกด กระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ส่วนปลาย ทำให้ ถ่ายปัสสาวะ
    หรืออุจจาระลำบาก
5. ในระยะท้ายๆอาจมีน้ำในช่องท้องทำให้ท้องโต ขึ้นกว่าเดิม เบื่ออาหาร ผอมแห้ง น้ำหนักลด

อาการและอาการแสดง ในระยะเริ่มแรกอาการไม่แน่นอน ปวดท้อง แน่นท้อง น้ำหนักลด เบื่ออาหาร คลำพบก้อนในท้อง หรือในอุ้งเชิงกราน เมื่อก้อนโตขึ้นกดเบียดกะเพาะปัสสาวะก็จะทำให้ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะขัด ถ้าก้อนไปกดลำไส้ใหญ่ส่วนปลายทำให้ปวดถ่วงและถ่ายอุจจาระลำบาก เมื่อมีการกระจายตัว
ของเซลล์มะเร็งในช่องท้องก็จะมีนำในท้อง ประจำเดือนผิดปกติ



การวินิจฉัย 


1. การตรวจภายในอาจคลำพบก้อนใน บริเวณท้องน้อย การคลำพบก้อนรังไข่ได้ในสตรีวัย หมดประจำเดือน
    ควรนึกถึงมะเร็งของรังไข่ไว้ด้วย (เพราะตามปกติวัยหมดประจำเดือน รังไข่จะฝ่อ)
2. การทำแพพสเมียร์จากในช่องคลอด ส่วนบนทางด้านหลัง อาจพบเซลล์มะเร็งของรังไข่ ได้
3.การตรวจด้วยเครื่องความถี่สูงอาจช่วยบอกได้ว่ามีก้อนในท้อง ในรายที่อ้วนหรือหน้าท้อง หนามาก
    คลำด้วยมือตาม ปกติตรวจไม่พบ
4. การผ่าตัดเปิดช่องท้อง และตรวจดู เป็นวิธีที่สำคัญ และแม่นยำที่สุดในการวินิจฉัยโรค อย่างแน่นอน
    สามารถ ขลิบหรือตัดเอาเนื้อมาตรวจหาชนิดของมะเร็ง และทราบถึงระยะ ของโรค ด้วย
5. การวินิจฉัย การตรวจภายใน เอ็กซเรย์หรือ ULTRASOUND หากพบก้อนที่น่าสงสัย ควรทำผ่าตัด
    ทุกราย เพื่อนำก้อนเนื้อไปพิสูจน์ทางพยาธิวิทยา 


การรักษา 


การผ่าตัดเป็นวิธีแรกที่แพทย์จะเลือกทำการ รักษา ถ้าไม่สามารถตัดออกได้หมดเนื่องจาก โรคกระจายออกไปมากแล้ว แพทย์จะพยายาม ตัดออกให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วจะให้ การรักษาต่อด้วยเคมีบำบัด หรือรังสีบำบัด

การรักษา โดยการผ่าตัดเป็นหลัก ปัจจุบันผลการรักษาอยู่ในเกณฑ์ดีแม้เป็นระยะลุกลามก็สามารถควบคุมโรค
ได้ระยะเวลานาน ผลการรักษาขึ้นกับระยะของโรค
ดังนั้นการตรวจพบระยะแรก ๆ เท่านั้นจึงจะรักษาให้หายได้ ข้อควรปฏิบัติ ตรวจภายในปีละครั้งหลังอายุ
40 ปี สังเกตุอาการผิดปกติ ความผิดปกติของประจำเดือน เช่น เริ่มขาดประจำเดือนก่อนวัยอันควร มีเลือด
ออกผิดปกติ ปวดท้องน้อยควรพบแพทย์ทันที

การป้องกัน 


เนื่องจากมะเร็งรังไข่ในระยะแรก ๆ มักจะไม่มีอาการ อีกทั้งยังไม่ทราบสาเหตุที่ แท้จริง การป้องกันจึงทำได้ยาก ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ รับการตรวจภายในหรือตรวจด้วยคลื่นความ ถี่สูง โดยแพทย์อย่างน้อยปีละครั้ง

ข้อควรปฏิบัติ


1. ควรได้รับการตรวจภายในปีละครั้ง หลังอายุ 40 ปี
2. หากมีความผิดปกติของประจำเดือน เช่น ขาดประจำเดือนก่อนวัยอันควร การมีเลือดออกผิดปกติ ปวด
    ท้องน้อย หรือสงสัยมีก้อนบริเวณท้องน้อย ควรพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจภายใน 





 ที่มา :


http://www.chulacancer.net/newpage/information/pancreas_cancer/what-is.html

http://www.thailabonline.com/sec7caovary.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น