วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

โรคติดต่อ...ที่น่ากลัว

1.โรคตาแดง

เป็นโรคติดต่อที่ระบาดได้ง่ายมาก  โรคนี้จะไม่ทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตแต่ถ้าไม่รีบรักษาอาจเกิดโรคแทรกซ้อนได้


สาเหต

1. ใช้มือสกปรกที่อาจมีเชื้อโรคขยี้ตา
2. ใช้สิ่งของเครื่องใช้ร่วมกับผู้ที่เป็นโรค  หรือเล่นกับผู้ป่วย
3. แมลงวันหรือแมงหวี่ตอมตา  หรือฝุ่นละอองเข้าตามาก ๆ  จนตา    อักเสบ
4. อาบน้ำในคลองสกปรก  หรือที่มีตาแดงระบาด

การป้องกัน

1. ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วย
2. ล้างหน้าและมือให้สะอาดอยู่เสมอ
3. ไม่ควรเอามือขยี้ตา



 

อาการ

        จะรู้สึกเคืองตา  น้ำตาไหล  มีขี้ตามาก  อาจมีไข้เล็กน้อย  จะมีอาการประมาณ 10  วัน  ถ้าไม่รีบรักษาอาจเกิดโรคแทรกซ้อนได้

 

การรักษา

1. ควรพักสายตาบ่อย ๆ
2. ประคบตาด้วยผ้าเย็น   เช็ดตาด้วยสำลีชุบน้ำอุ่น
3. ป้ายตาด้วยขี้ผึ้ง  ออคคูแลนท์ที   วันละ ครั้ง  เช้าและ
ก่อนนอน  ติดต่อกัน  6-7  วัน  ถ้ายังไม่หายให้รีบไปพบแพทย์




2.โรคติดต่อทางเดินหายใจ

โรคคางทูม เป็นการติดเชื้อและมีการอักเสบของต่อมน้ำลาย (Parotid gland) ที่อยู่บริเวณกกหูทำให้ที่บริเวณคางบวม จึงได้ชื่อว่าคางทูม พบในเด็กเป็นส่วนใหญ่
 

สาเหตุ 

เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งอยู่ในกลุ่ม Paramyxovirus
เป็นโรคติดต่อ ได้ทางทางเดินหายใจ (Droplet spread) และสัมผัสกับน้ำลายของผู้ป่วย เช่น การกินน้ำและอาหารโดยใช้ภาชนะร่วมกัน เป็นกับเด็กได้ทุกอายุ ถ้าเป็นในผู้ใหญ่จะมีอาการรุนแรง และมีโรคแทรกซ้อนได้บ่อยกว่าในเด็ก หลังจากมีวัคซีนป้องกันในประเทศที่พัฒนาแล้วอุบัติการณ์ของโรคนี้ได้ลดลงมาก ระยะที่ติดต่อกันได้ง่าย คือจาก 1-2 วัน (หรือถึง 7 วัน) ก่อนมีอาการบวมของต่อมน้ำลาย ไปจนถึง 5-9 วันหลังจากมีอาการบวมของต่อมน้ำลาย
ระยะฟักตัวของโรคคือ 16-18 วัน แต่อาจสั้นเพียง 12 วัน และนานถึง 25 วันหลังสัมผัสโรค


  

 อาการ

นผู้มีอาการจะเริ่มมีอาการไข้ต่ำ เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามตัว ต่อมา 1-2 วัน จะมีอาการปวดหู เจ็บบริเวณขากรรไกร จากนั้นต่อมน้ำลายหน้าหูจะโตขึ้นจนคลำได้ โดยค่อยๆ โตขึ้นจนถึงบริเวณหน้าหูและขากรรไกร บางรายโตขึ้นจนถึงระดับตา ประมาณ 1 สัปดาห์ จะค่อยๆ ลดขนาดลง
 

โรคแทรกซ้อน

1.  เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง
2. โรคแทรกซ้อนที่นับว่ารุนแรงคือ สมองอักเสบ พบได้ประมาณ 1 ใน 6,000 ราย ซึ่งอาจทำให้ถึงเสียชีวิตได้          
3. ถ้าเป็นในเด็กชายวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่อาจมีการอักเสบของอัณฑะ ซึ่งในบางรายอาจทำให้เป็นหมันได้
4. โรคแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจพบได้น้อยมาก คือ ข้ออักเสบ ตับอ่อนอักเสบ และหูหนวก




การรักษา

ตามอาการ ให้ยาแก้ปวดเป็นครั้งคราว

การป้องกัน

หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย คือ ให้วัคซีนป้องกันด้วยการให้วัคซีนป้องกันคางทูม ซึ่งในรูปแบบของวัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน (MMR)


 

3.วัณโรค (Tuberculosis)

     วัณโรค เป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เป็นได้กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกายแต่ที่พบและเป็น ปัญหามากในปัจจุบันคือ"วัณโรคปอด" เพราะ เชื้อวัณโรคปอดสามารถแพร่กระจายและติดต่อได้ ง่ายโดยระบบทางเดินหายใจหากไม่ได้รับการรักษา อย่างถูกต้องร่างกายจะทุดโทรมอย่างรวดเร็ว และ มีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
 
     เมื่อตรวจไม่พบเชื้อในเสมหะ ภายหลังกินยาครบตามกำหนด "วัณโรคไม่แพร่กระจาย ถ้าผู้ป่วยทุกรายมีคนดูแล" วัณโรคปอด

อาการของโรค


 










                           
1.ไอเรื้อรัง 3 สัปดาห์ขึ้นไป หรือไอมีเลือดออก
2.มีไข้ตอนบ่าย ๆ เหงื่อออกมากเวลากลางคืน
3. น้ำหนักลด อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
4. เจ็บหน้าอก และเหนื่อยหอบกรณีที่โรคลุกลามไปมาก
 

การติดต่อ

 ติดต่อโดยการหายใจเอาเชื้อโรคจากการไอ จาม พูด ของผู้ป่วยที่เป็นวัณโรค

 

การป้องกัน


1.
รักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยการออกกำลังกายกินอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่
    2.หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค
    3.ถ้ามีผู้ป่วยวัณโรคอยู่ในบ้าน ควรเอาใจใส่ดูแลให้กินยาครบถ้วนสม่ำเสมอทุกวัน
    4.ควรตรวจร่างกาย โดยการเอกซเรย์ปอดอย่างน้อยปีละครั้งฃ
    5.พาบุตร หลาน ไปรับการฉีดวัคซีน บี ซี จี
    6.หากมีอาการผิดปกติ น่าสงสัยว่าจะเป็นวัณโรค ควรรีบไปพบ แพทย์เพื่อรับการตรวจ โดยการเอกซเรย์ปอด และตรวจเสมหะ

 การรักษา

    ปัจจุบันมียารักษาวัณโรคที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถรักษาให้หายได้ภายในเวลา 6 เดือน โดยกินยาทุกชนิดที่แพทย์สั่งให้ครบถ้วนสม่ำเสมอทุกวัน ถ้ากินยาไม่ครบ หรือหยุดยาก่อนกำหนด อาจทำให้เชื้อวัณโรคดื้อยา ยากต่อการรักษา และอาจรักษาไม่หายได้ หากมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขหรือคนในครอบครัวเดียวกันเฝ้าสังเกตการกินยาต่อหน้าทุกครั้งจะมีผลดี คือ สามารถรักษาให้หายได้ตามกำหนด และหยุดยั้งการแพร่เชื้อได้เร็ว เรียกว่า การรักษาด้วยระบบยาระยะสั้นแบบควบคุมหรือสังเกตโดนตรง

การปฏิบัติตนเมื่อป่วยเป็นวัณโรค

1.ไปพบแพทย์ตามนัด และเก็บเสมหะส่งตรวจทุกครั้งตามแพทย์สั่ง
2.กินอาหารที่มีประโยชน์ เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ ผัก ผลไม้ เพื่อบำรุงร่างกายให้แข็งแรง
3.ปิดปาก จมูก เวลาไอหรือจามทุกครั้ง เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น
4.จัดบ้านให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
   5.ให้บุคคลในบ้านไปรับการตรวจ ถ้าพบว่าป่วยเป็นวัณโรคแพทย์จะได้ให้การักษาทันทีกินยาให้ครบถ้วนทุกชนิดตามที่แพทย์สั่ง และกินติดต่อกันสม่ำเสมอทุกวันจนครบตามกำหนด


 

4.กามโรค (Venereal)

โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ Sexually Transmitted Infections
เป็นโรคติดต่อทางเพศกลุ่มหนึ่งซึ่งติดต่อโดยการสัมผัสกับผู้ป่วยทั้งทางตรง หรือทางอ้อม และโดยทางกรรมพันธุ์ โรคที่พบบ่อยได้แก่

โรคซิฟิลิส Syphilis

 โรคซิฟิลิสหรือเรียกว่า "โรคเข้าข้อออกดอก" เป็นโรคที่มีความร้ายแรงมากที่สุด โรคนี้ในขั้นแรกจะ ปรากฏแผลเล็ก ๆ ที่อวัยวะเพศ หลังจากได้รับเชื้อโรคแล้วประมาณ 10 - 20 วัน แผลลักษณะเรียบขอบแข็งไม่รู้สึกเจ็บ ปล่อยไว้ก็อาจ หายไปเองได้แต่โรคยังไม่หาย เชื้อโรคนี้จะผ่านไปตามทางเดินของเส้นเลือดและท่อน้ำเหลืองแล้วกระจายไปทั่ว ร่างกาย ต่อไปจะปรากฏผื่น ขึ้นตามตัวเรียกว่า "ออกดอก" หรือบางครั้งเกิดอาการแบบอื่น เช่น คอเจ็บ ปวดเมื่อยตามข้อ ผมร่วง ฯลฯ เมื่อเจาะเลือดไปตรวจจะพบเลือดบวกถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอาจ ถึงตาบอด หูหนวกสติปัญญาเสื่อม หรืออาจเป็นบ้าก็ได้   หญิงที่ตั้งครรภ์ เชื้อซิฟิลิส จะถ่ายทอดจากแม่ไปสู่ทารกที่อยู่ในครรภ์ทำให้แท้งตายในครรภ์หรือคลอดออกมา แล้วตาย หรือเป็นเด็กพิการก็ได้


 

 โรคหนองใน Gonorrhoea

    หนองในเป็นกามโรค เกิดจากเชื้อโรคชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการอักเสบในท่อปัสสาวะมีหนองซึมไหลออกมา ปัสสาวะขัด แสบกะปริดปะกรอย
    สำหรับหญิง นอกจากจะเกิดการอักเสพในท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะแล้ว เชื้อโรคยังลุกลาม ไปทำให้มดลูกและรังไข่อักเสบเป็นสาเหตุให้เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือเป็นหมันได้

 

แผลริมอ่อน Chancroid

    ต้นเหตุของแผลริมอ่อนเกิดจากเชื้อโรคชนิดหนึ่งทำให้เกิดแผลเล็ก ๆ ที่อวัยวะเพศหรือบริเวณใกล้เคียง แผลขอบอ่อน ไม่เรียบร้อยคล้ายแผลเปื่อยมีเลือดออกง่าย เจ็บต่อมาต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณขาหนีบบวมโตเป็นหนองแล้วแตกในที่สุด


 

กามโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง Lymphogranuloma venereum

    โรคนี้อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ฝีมะม่วง" เกิดจากเชื้อโรคชนิดหนึ่งทำให้เป็นแผลเล็ก ๆ ตรงเฉพาะอวัยวะสืบพันธุ์ และบริเวณใกล้เคียง ทำให้มีต่อมบริเวณที่ขาหนีบอักเสบโตขึ้นเรื่อย ๆ คล้ายมะม่วงต่อจากนั้นจะแตกเป็นแผลมีรูเล็ก ๆ แล้วมีน้ำเหลืองไหลกลายเป็นแผลเรื้อรัง


แผลกามโรคเรื้อรังที่ขาหนีบ Granuloma Inguinale

    กามโรคชนิดนี้เกิดจากเชื้อชนิดหนึ่งทำให้เกิดแผลหรือตุ่มหรือผื่นเล็ก ๆ ที่บริเวณขาหนีบ ต่อมาตุ่มหรือผื่นนี้จะเป็นแผล ลุกลามไปยังบริเวณใกล้เคียงขยายกว้างออกไปเรื่อย ๆ ตามบริเวณผิวหนังที่ชื้นและมีเหงื่อ หรือบริเวณที่เสียดสีโดย เฉพาะที่ขาหนีบและอัณฑะของชาย
 

โรคหนองในเทียม Non-gonococcal Urethritis/Non gonococcal Cervicitis

    หนองในเทียมเป็นกามโรคอีกชนิดหนึ่งเกิดจากเชื้อโรคชนิดอื่น ๆ นอกเหนือจากกามโรคชนิดต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้ว อาจเป็นพวกบัคเตรี พยาธิ เชื้อรา หรือไวรัส ก็ได้
    นอกจากนั้น อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การระคายเคือง การอักเสบการแพ้สารเคมี และจากการแพ้อาหารบางชนิด เป็นต้น อาการของโรคหนองในเทียมนั้นทำให้มีของเหลวคล้ายหนองไหลทางท่อปัสสาวะ หรือเป็นเมือกลื่นออกมาเป็น ประจำ ปัสสาวะแสบ ขัดมีอาการระคายเคืองในท่อปัสสาวะ ผู้ป่วยเป็นโรคหนองในเทียมถ้าได้รับการรักษาไม่ถูกวิธีจะทำให้เป็นโรคไม่หาย ขาดและอาจมีอาการเช่นนี้เรื้อรังต่อไป



 

การป้องกันกามโรค

1.     ละเว้นการสัมผัสทางเพศกับผู้ป่วยกามโรค
2.     ไม่ใช้เสื้อผ้าสิ่งของร่วมกับผู้ป่วยกามโรค
3.     ตรวจเลือดก่อนแต่งงาน และเมื่อมีครรภ์ (ไม่เกิน 4 เดือน)
 
ผู้ที่เป็นกามโรคต้องรับการรักษาอย่างถูกต้องเสียแต่แรกเริ่มโดยเร็ว จะได้ไม่แพร่เชื้อให้ผู้อื่นต่อไป



 ที่มา :
 http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/5-5/no46-48/wer1.htm
 http://blog.eduzones.com/jipatar/85837
 http://www.bknowledge.org/index.php/object/page/access/health/files/25.html


1 ความคิดเห็น:

  1. แนะนำสมุนไพรช่วยยับยั้งทำลายเชื้อไวรัส HIV SLE หูดหงอนไก่ เริม ซิฟิลิส หนองใน ภูมิแพ้ อัมพฤกษ์ ปรึกษาได้ 0910272191 line yizshok

    ตอบลบ